ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะกับ 5 เรื่องที่ควรรู้

ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection: UTI) คือการติดเชื้อที่อวัยวะในทางเดินปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และไต ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และต้องรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่ง หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ไตเสียหายอย่างรุนแรงจากการติดเชื้อ และการติดเชื้อในกระแสเลือด

การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียที่พบมากในลำไส้ใหญ่เข้าสู่ท่อปัสสาวะ ซึ่งผู้หญิงจะเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อนี้ได้ง่าย เนื่องจากท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย จึงทำให้เชื้อแบคทีเรียบริเวณทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะและเกิดการติดเชื้อขึ้น นอกจากนี้ ทารก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ชายที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอาจเรียกตามตำแหน่งที่เกิดการติดเชื้อ เช่น กรวยไตอักเสบ คือการติดเชื้อบริเวณระหว่างไตและท่อไต และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ การรู้จักข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ จะช่วยในการสังเกตอาการและไปพบแพทย์ได้อย่างเหมาะสม

1. ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมีอาการอย่างไร

ผู้ที่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมักไม่มีอาการใด ๆ แต่กรณีที่เกิดการติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ อาจมีอาการดังนี้

  • ปวดปัสสาวะอย่างมาก และรู้สึกปวดต่อเนื่องโดยไม่หายไป 
  • รู้สึกเจ็บหรือแสบขณะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะบ่อย แต่ปัสสาวะแต่ละครั้งปริมาณน้อย
  • ปัสสาวะขุ่น มีฟอง มีกลิ่นเหม็น หรือมีเลือดปน
  • ผู้หญิงจะปวดท้องน้อย โดยจะปวดมากบริเวณกระดูกเชิงกราน
  • ผู้ชายจะปวดบริเวณทวารหนัก
  • เด็กที่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอาจมีอาการร้องไห้งอแง ปัสสาวะราด มีไข้ ไม่ยอมกินอาหารและนม 

2. ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเกิดจากอะไร

การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเกิดจากการติดเชื้อจากระบบทางเดินอาหาร ซึ่งโดยส่วนมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น อีโคไล (E.Coli) ซึ่งพบมากบริเวณลำไส้ใหญ่ หากเชื้อแบคทีเรียจากลำไส้ใหญ่และทวารหนักจะเข้าสู่ช่องเปิดของท่อปัสสาวะ จะสามารถเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ท่อไต และไต ทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ 

ทั้งนี้ ผู้หญิงที่มีท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชายจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายกว่า โดยพบมากในหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดบางชนิด นอกจากนี้ คนกลุ่มอื่น ๆ ที่เสี่ยงติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ได้แก่

3. ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะรักษาอย่างไร

การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมักไม่สามารถหายได้ด้วยการดูแลตัวเองหรือซื้อยาใด ๆ มากินเอง หากมีอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม กรณีที่ติดเชื้อไม่รุนแรง แพทย์จะสั่งจ่ายยารักษายาปฏิชีวนะพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยผู้ป่วยควรกินยาอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา เช่น 

แพทย์อาจสั่งจ่ายยาแก้ปวดให้ผู้ป่วยบางรายกินร่วมด้วย ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยขับเชื้อแบคทีเรียออกจากร่างกาย หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้ำอัดลม และแอลกอฮอล์ ซึ่งกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะมากขึ้น หากมีอาการปวดท้องน้อย สามารถใช้แผ่นประคบร้อนสำเร็จรูปหรือผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบ จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้

4. ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะป้องกันอย่างไร

ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะป้องกันได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น

  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ โดยผู้ใหญ่ควรดื่มน้ำวันละประมาณ 8 แก้ว
  • หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะwww.pobpad.com/อั้นฉี่-เสี่ยงอันตรายต่เป็นเวลานาน
  • ผู้หญิงควรทำความสะอาดwww.pobpad.com/อวัยวะเพศหญิง-กับวิธีดูหลังปัสสาวะด้วยการเช็ดอย่างนุ่มนวลจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันเชื้อจากทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะและช่องคลอด
  • ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศทุกครั้งทั้งก่อนและหลังการมีเพศสัมพันธ์ และควรปัสสาวะหลังมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่ควรสวมกางเกงและชุดชั้นในที่รัดแน่นจนเกินไป และหลีกเลี่ยงการใส่กางเกงชั้นในที่ทำจากผ้าไนลอน ซึ่งจะอับชื้นง่ายและทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี
  • ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดwww.pobpad.com/ยาคุมกำเนิดชนิดที่มีสารฆ่าอสุจิ (Spermicidal Agents) ควรเปลี่ยนไปใช้การคุมกำเนิดรูปแบบอื่น

อาหารเสริมบางชนิด เช่น สารสกัดแครนเบอร์รี่ และโพรไบโอติกwww.pobpad.com/ประโยชน์ของโพรไบโอติกต (Prebiotic) อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ โดยใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ

5. อาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์

หากมีอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะผู้มีโรคประจำตัว ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษา การรักษาเร็วจะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไปสู่ไต อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดwww.pobpad.com/ติดเชื้อในกระแสเลือดตามมา โดยผู้ป่วยอาจมีระดับความดันโลหิตต่ำมาก มีภาวะช็อก และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันที หากมีสัญญาณของการติดเชื้อที่ไต ได้แก่

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีไข้สูง หนาวสั่น
  • ปวดท้องและหลังส่วนล่าง
  • มีอาการสับสน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ

โดยทั่วไป ผู้ที่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมักหายดีหลังกินยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่งภายใน 2–3 วัน หากได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้หายเร็วและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแพร่กระจายที่เป็นอันตรายถึงชีวิต