ถามแพทย์

  • ตรวจยูริค 8.4 หมอให้กินยาallupolinol300mg 2 เดือนต้องตรวจ ยูริค ก่อนมั๊ย ถึงหยุดยาได้ ถ้าตรวจเพื่อเฝ้าระวังยูริค ต้องตรวจ ทุกๆ กี่เดือน ครับ

  •  Sonta Chai
    สมาชิก
    ตรวจยูริค 8.4 หมอให้กินยาallupolinol300mg 2 เดือนต้องตรวจ ยูริค ก่อนมั๊ย ถึงหยุดยาได้ ถ้าตรวจเพื่อเฝ้าระวังยูริค ต้องตรวจ ทุกๆ กี่เดือน ครับ และค่ายูริคต้องเท่าไร ก่อนหน้านี้พยายามควบคุมอาหารทุกอย่าง อย่างเต็มที่ ยูริค ก็เพิ่ม จาก 7 เป็น 8.4 ไม่ทราบว่าเพราะอะไรครับ

     

    สวัสดีค่ะ คุณ Sonta Chai

     

    ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงคือ ระดับค่ายูริกเกิน 7 มก./ดล. ในเพศชาย และ ระดับค่ายูริกเกิน 6 มก./ดล.ในเพศหญิง

     

    สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ได้แก่

     

    -มีการสร้างสารพูรีนเพิ่มขึ้น โดยอาจเกิดจากทำงานของเอ็นซัยม์บางอย่างในร่างกายผิดปกติ หรือ จากยาหรือสารบางชนิด เช่น ยาวาฟาริน (warfarin), สารนิโคตินิค, น้ำตาลฟรุกโตส เป็นต้น

     

    -มีการสลายกรดนิวคลีอิกเพิ่มขึ้น โดยสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น โรคเลือดบางชนิด, โรคมะเร็งบางชนิด, โรคสะเก็ดเงิน, การดื่มสุรา เป็นต้น

     

    -มีการขับกรดยูริคลดลง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น ภาวะขาดน้ำ ภาวะไตวาย โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง รวมถึงยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาต้านวัคโรคบางชนิด เป็นต้น

     

     **ในรายที่แพทย์พบสาเหตุของภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุที่แก้ไขได้ แพทย์จะให้แก้ไขและนัดมาดูระดับยูริกอีก 1-2 ครั้ง โดยมีระยะห่าง 1-2 เดือน

     

     **ในการรักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูงนั้นจะเน้นรักษาในกลุ่มคนไข้ที่มีอาการจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง

     

    ได้แก่ อาการของโรคเกาต์ และนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ส่วนกลุ่มคนไข้ที่ไม่มีอาการจะพิจารณารักษาใน 2 กรณี คือ

     

    1.กรณีที่คนไข้มีความเสี่ยงต่อภาวะกรดยูริกในเลือดสูงแล้วก่อให้เกิดไตวายเฉียบพลัน เช่น คนไข้มีมะเร็ง หรือโรคเลือดบางชนิด เป็นต้น

     

    2. กรณีที่ผลการตรวจระดับยูริกในปัสสาวะ โดยการเก็บปัสสาวะใน 24 ชั่วโมงแล้วค่าสูงมาก ซึ่งการรักษาในกรณีนี้เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดนิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ

     

    ***คนไข้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดกรดยูริกในเลือดได้โดย

     

    -การคุมอาหาร เช่น การลดรับประทานเนื้อสัตว์ประเภทอาหารทะเล, หอย, เนื้อแดง, สัตว์ปีก, เครื่องในสัตว์, ลดผลไม้รสหวานและเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลฟรุกโตส, ลดการดื่มสุรา เป็นต้น

     

    -การควบคุมโรคร่วม เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ความอ้วน เป็นต้น

     

     ดังนั้นจึงแนะนำให้คุณ Sonta Chai ควบคุมตามที่กล่าวในข้างต้น ส่วนเรื่องการปรับยาแนะนำให้สอบถามจากแพทย์ผู้รักษาอีกทีนะคะ