รู้เท่าทันโรคงูสวัดอาการเริ่มแรกและสัญญาณที่ควรไปพบแพทย์

การสังเกตโรคงูสวัดอาการเริ่มแรกอาจช่วยให้ได้รับการรักษาโรคงูสวัดรวดเร็วยิ่งขึ้น อาการเริ่มแรกของโรคงูสวัดมักเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดผื่นพาดไปตามฝั่งซ้ายหรือฝั่งขวาของลำตัว ถึงแม้ว่าโรคงูสวัดอาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การไปพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยบรรเทาความรุนแรงของอาการ และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาได้

โรคงูสวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใส โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้มักแฝงอยู่ในร่างกายหลังจากการเป็นโรคอีสุกอีใส เมื่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอเนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเครียด การติดเชื้อเอชไอวี หรือผ่านการทำคีโม อาจทำให้ไวรัสที่แฝงตัวอยู่ถูกกระตุ้น และเกิดเป็นอาการเริ่มแรกของโรคงูสวัดได้ 

โรคงูสวัดอาการเริ่มแรก

โรคงูสวัดอาการเริ่มแรกที่ควรสังเกต

หลายคนอาจไม่ทันสังเกตอาการเริ่มแรกของโรคงูสวัด เพราะในช่วงเริ่มต้น โรคงูสวัดอาจไม่แสดงอาการจนกว่าจะมีผื่นเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม อาการโรคงูสวัดมักเกิดขึ้นบริเวณใบหน้าหรือร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องหรือลำตัว โดยงูสวัดอาจมีสัญญาณอาการเริ่มแรกที่ควรสังเกต ดังนี้

หลังจากเกิดอาการเริ่มแรกของโรคงูสวัดขึ้นประมาณ 1–5 วัน ผื่นงูสวัดอาจปรากฏขึ้นเป็นแนวยาวพาดไปบริเวณฝั่งใดฝั่งหนึ่งของลำตัวหรือใบหน้า โดยผื่นอาจทำให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อน คัน และมีตุ่มน้ำเกิดขึ้น โดยตุ่มน้ำเหล่านั้นอาจตกสะเก็ดภายใน 7–10 วัน และผื่นอาจค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 4 สัปดาห์

โรคงูสวัดอาการเริ่มแรกกับสัญญาณที่ควรไปพบแพทย์

ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เมื่อมีอาการเริ่มแรกของโรคงูสวัดหรือมีผื่นงูสวัดเกิดขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยหรือมีอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เพราะยิ่งอายุมากยิ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
  • ตนเองหรือคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคหรืออาการที่ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง หรือการใช้ยาบางชนิด 
  • บริเวณใกล้ดวงตามีอาการปวดหรือมีผื่นงูสวัดเกิดขึ้น เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ดวงตาสูญเสียการมองเห็นถาวรได้
  • ผื่นมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีอาการปวดแสบรุนแรง

การรักษาโรคงูสวัดมักเน้นไปที่การลดอาการปวดและการกินยาต้านไวรัส เช่น ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ยาแฟมไซโคลเวียร์ (Famciclovir) และยาวาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) ซึ่งมักได้ผลดีที่สุดหากรักษาภายใน 72 ชั่วโมงหลังเกิดผื่นงูสวัด โดยยาอาจช่วยให้ผื่นงูสวัดหายเร็วขึ้นและลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น สูญเสียการมองเห็น สมองอักเสบ โรคอัมพาตใบหน้า และโรคปอดอักเสบ 

ทั้งนี้ เมื่อมีผื่นงูสวัดเกิดขึ้นหลังจากมีอาการเริ่มแรกของโรคงูสวัด อาจดูแลตนเองได้ด้วยการกินยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยาพาราเซตามอลหรือยาไอบูโพรเฟน และประคบเย็นหรือทายาคาลาไมน์เพื่อลดอาการคัน 

นอกจากนี้ ควรรักษาผื่นให้แห้งและสะอาด จากนั้นใช้ผ้าพันแผลปิดผื่นเพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อ พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงความเครียด อาจช่วยให้ผื่นงูสวัดมีอาการดีขึ้น