วิธีสังเกตอาการมะเร็งลำไส้ เรื่องสำคัญที่ทุกคนควรใส่ใจ

มะเร็งลำไส้ หรือ มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colorectal Cancer) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการที่เซลล์บางชนิดที่อยู่บริเวณช่องท้อง (Colon) หรือบริเวณอุ้งเชิงกราน (Rectum) เกิดการแบ่งตัวมากผิดปกติ โดยโรคนี้ส่วนใหญ่มักเริ่มจากการเกิดก้อนติ่งเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็งก่อน แล้วจึงค่อย ๆ กลายเป็นก้อนเนื้อมะเร็ง และส่งผลให้เกิดอาการมะเร็งลำไส้ในภายหลัง

ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคมะเร็งลำไส้ แต่มีความเป็นไปได้ว่าอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยบางอย่าง เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหลัง 50 ปี เคยเกิดเนื้องอกหรือมะเร็งบริเวณลำไส้ คนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งลำไส้ เคยป่วยเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ภาวะอ้วน การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การขาดใยอาหาร การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

อาการมะเร็งลำไส้ สังเกตอย่างไร

โดยส่วนใหญ่ ผู้ที่ป่วยมักไม่พบอาการใด ๆ ในช่วงแรก และมักจะเริ่มพบอาการเมื่อโรคเริ่มมีความรุนแรง โดยลักษณะอาการมะเร็งลำไส้จะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน ขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนเนื้อมะเร็ง บริเวณที่เกิดมะเร็ง และความรุนแรงของโรค

โดยอาการที่อาจพบได้ เช่น

  • อุจจาระปนเลือด อุจจาระมีสีดำเข้ม หรืออุจจาระมีสีแดงปน
  • มีอาการท้องผูกเรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง หรืออาเจียนเรื้อรังโดยหาสาเหตุไม่ได้
  • อุจจาระบ่อยผิดปกติ
  • รู้สึกอุจจาระไม่สุด
  • ปวดท้องรุนแรงและเรื้อรังโดยหาสาเหตุไม่ได้
  • ท้องอืดเรื้อรัง หรือประมาณตั้งแต่ 1 สัปดาห์ขึ้นไป
  • หายใจไม่อิ่ม
  • อ่อนเพลีย
  • น้ำหนักตัวลดผิดปกติ โดยหาสาเหตุไม่ได้

การป้องกันมะเร็งลำไส้

วิธีการป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้หลัก ๆ คือการเข้ารับการตรวจคัดกรองเมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงอายุ 50 ปี หรืออาจจะเร็วกว่านั้นหากเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่คนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคนี้

นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยสิ่งหลัก ๆ ที่ควรทำ ได้แก่

ทั้งนี้ ผู้ที่พบอาการผิดปกติที่เข้าข่ายอาการมะเร็งลำไส้ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจตั้งแต่เนิ่น ๆ เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่อาจลุกลามไปยังอวัยวะบริเวณอื่นได้หากไม่ได้รับการรักษา ซึ่งถือว่าเป็นภาวะอันตรายที่อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ แต่หากผู้ป่วยได้รับการตรวจตั้งแต่เนิ่น ๆ การรักษาโดยแพทย์อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้