ถามแพทย์

  • คันตา มีขี้ตา กลางคืนมีคัดจมูกข้างเดียว เป็นโรคอะไร มีวิธีรักษาอย่างไร

  •  Pennapa1209
    สมาชิก
    มีอาการคันตาและมีขี้ตาระหว่างวันค่ะ ตอนกลางคืนจะมีอาการคัดจมูกข้างเดียว เป็นมาสักพักแล้วไม่หายสักที อยากรู้ว่าเป็นโรคอะไรไหมคะ และมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

    สวัสดีค่ะ คุณ Pennapa1209,

                      อาการคันตา คัดจมูก อาจเกิดจาก

                     1.โรคภูมิแพ้ ชนิดแพ้อากาศ (allergic rhinitis) ซึ่งเกิดจากการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ อาการคือมีน้ำมูกใส คัดจมูก จาม คันจมูก คันเพดานปาก และลำคอ จมูกอาจได้กลิ่นลดลง อาการจะเป็นแบบเรื้อรังต่อเนื่อง โดยมีช่วงที่ดีขึ้นสลับกับช่วงอาการกำเริบ

                       2. ภูมิแพ้ขึ้นดวงตา (allerigic conjuctivitis) อาการคือคันตา ตาแดง น้ำตาไหล แสบตา มีขี้ตามาก แต่ไม่ได้ทำให้มีอาการคัดจมูก 

                       3. ไข้หวัด แต่มักมีไข้ ไอ มีเสมหะ เจ็บคอ ปวดหัว อ่อนเพลีย เป็นต้น และอาการจะเป็นอยู่เพียง 1 สัปดาห์แล้วจะหายไปได้เอง

                       4. ไซนัสอักเสบแบบกึ่งเฉียบพลันหรือเรื้อรัง นอกจากคัดจกมูแล้ว จะมีน้ำมูกสีเหลืองข้นร่วมด้วย มีอาการปวดตามไซนัส การได้รับกลิ่นลดลง แต่จะไมไ่ด้ทำให้มีอาการคันตา

                       หากอาการเป็นมานานแล้ว หรือเป็นๆ หายๆ โดยไม่ได้อาการอื่นๆ อีก ก็น่าจะเป็นอาการของโรคภูมิแพ้ชนิดแพ้อากาศได้ ซึ่งหากอาการไม่รุนแรง ก็สามารถดูแลตนเองได้ โดยในเบื้องต้น ต้องพยายามหาสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดอาการและหลีกเลี่ยง เช่น  ไรฝุ่น ฝุ่นละออง ควัน น้ำหอม เชื้อราต่างๆ สะเก็ดผิวหนังจากสัตว์ เช่น สุนัข แมว หนู กระต่าย ขนนก นุ่น ฝ้ายเกสรดอกไม้ ดอกหญ้า แมลงสาบ และแมลงต่างๆ วัสดุเฟอร์นิเจอร์ เช่น ใยมะพร้าว เป็นต้น รวมไปถึงการมีความเครียดด้วย 

                       นอกจากนี้ ก็ควรหลีกเลี่ยงการโดนอากาศเย็น ไม่ดื่มน้ำเย็น ไม่อาบน้ำเย็น หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นต้น

                      ในเบื้องต้น หากมีอาการคัดจมูกมาก อาจใช้วิธีล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ใช้ยาลดอาการคัดจมูกแบบพ่นหรือหยด เช่น oxymetazoline เป็นต้น หรือทานยาลดอาการคัดจมูก เช่น pseudoephedrine, phenylephrine เป็นต้น หากคันตามาก อาจทานยาแก้แพ้แก้คัน เช่น เซทิริซีน (cetirizine), ลอราทาดีน (loratadine) เป็นต้น 

                      หากอาการไม่ดีขึ้น ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาค่ะ