รู้จักอาการท้องลมและสัญญาณที่ควรไปพบแพทย์

อาการท้องลมเป็นภาวะแท้งบุตรรูปแบบหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยท้องลมจะมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น แต่ตัวอ่อนที่ฝังอยู่ในมดลูกอาจไม่เจริญเติบโตไปเป็นทารกในครรภ์ ซึ่งสาเหตุของอาการท้องลมยังไม่ชัดเจน แต่อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การแบ่งตัวของเซลล์ผิดปกติ โครโมโซมผิดปกติ ไข่หรืออสุจิไม่แข็งแรง  

อาการท้องลมอาจไม่สามารถป้องกันได้และอาจเป็นเรื่องที่น่าเศร้าสำหรับคุณแม่ แต่ผู้ที่มีอาการท้องลมยังคงมีโอกาสตั้งครรภ์ครั้งต่อไปได้สำเร็จ อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ตั้งครรภ์แต่ยังคงมีการแท้งบุตรติดต่อกันอย่างน้อย 2 ครั้ง ควรไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้งบุตร และเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

อาการท้องลม

อาการท้องลมที่คุณแม่ควรรู้

อาการท้องลมอาจเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ ในบางครั้งผู้ที่กำลังตั้งครรภ์อาจเกิดอาการท้องลมก่อนที่จะทราบว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ เมื่อการแท้งบุตรเกิดขึ้น ร่างกายอาจขับเลือดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ออกจากมดลูกผ่านทางช่องคลอด ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัวมองว่าเป็นเพียงประจำเดือนที่มามากกว่าปกติเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม อาการท้องลมอาจมีอาการคล้ายกับการตั้งครรภ์ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากรกและถุงการตั้งครรภ์ (Gestational sac) ปล่อยฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ออกมา จึงอาจทำให้คุณแม่เข้าใจว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่ ตัวอย่างสัญญาณของการตั้งครรภ์ เช่น

เมื่อการตั้งครรภ์สิ้นสุดลง อาจมีสัญญาณของการแท้งบุตรปรากฏขึ้น เช่น

อย่างไรก็ตาม การมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์อาจไม่ใช่สัญญาณของการแท้งบุตร แต่อาจบ่งบอกถึงอาการอื่น ๆ เช่น เลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation bleeding) ดังนั้น หากมีอาการที่บ่งบอกถึงอาการท้องลม ควรรีบไปพบแพทย์ โดยแพทย์อาจตรวจดูถุงการตั้งครรภ์ด้วยการทำอัลตราซาวนด์ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยสาเหตุได้อย่างถูกต้อง 

อาการท้องลมกับสัญญาณที่ควรไปพบแพทย์

อาการท้องลมเป็นอาการที่ควรไปพบแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการที่อาจเป็นสัญญาณของการแท้งบุตรหรือมีอาการอื่น ๆ เช่น

  • เวียนศีรษะ คลื่นไส้
  • ไข้ไม่ลดลงหรือไม่ดีขึ้น
  • เลือดออกทางช่องคลอดเยอะผิดปกติ
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง และไม่ดีขึ้นแม้กินยาแก้ปวดแล้ว

การรักษามักเน้นไปที่การขับถุงการตั้งครรภ์หรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ ออกจากร่างกาย แพทย์อาจแนะนำให้รอจนกว่าร่างกายจะเกิดการแท้งตามธรรมชาติ หรืออาจแนะนำให้กินยาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการแท้งเร็วขึ้น เมื่อเกิดการแท้ง สิ่งที่ถูกขับออกมาจะไม่เห็นเป็นตัวของทารกหรือชิ้นส่วนของร่างกาย แต่อาจเห็นเป็นสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ โดยมีลักษณะเป็นเลือด ลิ่มเลือด เมือก ถุงการตั้งครรภ์ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ 

ในบางกรณี เช่น ร่างกายไม่สามารถขับสิ่งต่าง ๆ จากการตั้งครรภ์ออกมาได้เอง หรือพบว่ายังคงมีเหลือตกค้างอยู่ แพทย์อาจรักษาโดยการขูดมดลูกเพื่อเอาเยื่อบุหรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ ออกจากโพรงมดลูก ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อภายในโพรงมดลูกอีกด้วย โดยหลังจากเกิดการแท้งหรือการขูดมดลูก ร่างกายอาจค่อย ๆ ดีขึ้นโดยใช้เวลาประมาณ 2–4 สัปดาห์

การแท้งบุตรอาจต้องใช้เวลาในการรักษาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ในระหว่างนี้ ควรดูแลตัวเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงหรือจัดการความเครียดที่อาจเกิดขึ้นจากชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ หากคุณแม่ต้องการตั้งครรภ์อีกครั้ง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปอย่างปลอดภัย