ถามแพทย์

  • มีอาการอารมณ์แปรปรวน มีความคิดอยากทำร้ายสัตว์เลี้ยง ควบคุมตนเองไม่ได้บางครั้ง เกิดจากอะไร

  •  Ppiicckkfhhyghh
    สมาชิก
    สวัสดีค่ะ<:คือเราขอย้อนไปตอนอายุ11นะคะเราซื้อแฮมเตอร์มาเลี้ยงละหลังจากเราเลี้ยงได้3-4เดือนเรามีปัญหาในครอบครัวนี่แหละค่ะเราร้องไห้แล้วอุ้มมันออกมาแล้วเราก็บีบตัวมันจนมันหายใจไม่ออกและหลังจากนั้นเราก็ทำอยู่อีก2-3ครั้งเราไม่มีความรู้สึกเสียใจตอนที่เราทำครั้งที่สองแต่ก็หยุดไปเพราะเราะพยายามควบคุมตัวเอง ย้อนไปอีกหน่อยเราเคยมีอาการแบบนี้กับปลาตัวเล็กมากๆเราชอบทุบหัวมันแต่ก็หยุดไปตัดมาที่แฮมเตอร์เราทำแบบนั้นแค่2-3ครั้งและไม่ทำอีกเลยความรู้สึกอยากบีบมันก็หายไปด้วยและปัจจุบันเราอายุ12-13มีแมวจรมาบ้านเราคือมันมาอยู่บ้านเราตั้งแต่เรา10-11ปีได้แล้วค่ะนั่นแหละ ตอนแรกๆแม่เราไม่ชอบมันเลยแต่พอเราเข้า12ปีแม่เราก็เปิดใจให้มัน ถือว่าดีนะคะ55แต่เรากลับมีอาการแปลกๆมากระตุ้นเราอีกครั้งจนมาถึงวันนึงเราหิวข้าวคือรอแม่ซื้อของที่ซุปเปอร์มาอยู่ละพอแม่กลับมา..คือไม่มีข้าวเลยค่ะ..แต่ก็ไม่ได้อ่ะไรเราควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้เพราะตอนนั้นก็หิวมากๆเราเลยปิดประตูเข้าห้องเสียงดัง ละทีนี้แม่เราก็คุยกับพ่อให้ไปซื้ออาหารแมวมาเพราะแม่เราลืมซื้อแม่เราดูกังวลใจที่แมวอาหารหมดแต่เราที่รอข้าวมาหลายชั่วโมงไม่สนใจไรเลยความรู้สึกอยากฆ่าแมวตัวนั้นก็ผุดขึ้นในหัวขึ้นมาเราได้ยินแม่เล่นกับแมวมันทำให้เราอยากฆ่าแมวตัวนั้นแต่ก็ไม่อยากทำในเวลาเดียวกันและก็มีอีกหลายครั้งที่พ่อกับพีาชายทะเลาะกัน เราร้องไห้ในห้องแต่ก็กลับหัวเราะออกมาพร้อมร้องไห้ไปด้วย เราสับสนตัวเองมากๆปัจจุบันเรากลายเป็นคนไปนอนเลยเมื่อตกดึกกลายเป็นคนที่เวลาคนถามคำถามเราจะประหม่าตลอดเวลา เราแค่อยาดรู้ว่าเราเสี่ยงเป็นซึมเศร้าด้วยไหมแล้วเสี่ยงเป็นpsychopathด้วยรึเปล่า
    Ppiicckkfhhyghh  พญ.นรมน
    สมาชิก

     สวัสดีค่ะคุณ Ppiicckkfhhyghh

    อาการอารมณ์แปรปรวน มีความคิดอยากทำร้ายสัตว์เลี้ยง ควบคุมตนเองไม่ได้บางครั้งดังกล่าวมานั้น น่าจะเป็นความผิดปกติ แต่ยังไม่สามารถระบุกลุ่มโรคได้อย่างชัดเจนค่ะ คืออาจเป็นภาวะจิตเภท อารมณ์ 2 ขั้ว ภาวะซึมเศร้า โรคซึมเศร้าแต่ก็มักไม่ได้มีความคิดทำร้ายสัตว์ดังกล่าวมา

    โดยโรคจิตเภท เป็นโรคความผิดปกติทางจิตที่รุนแรงและเรื้อรัง ส่งผลต่อการพูด การคิด การรับรู้ ความรู้สึก และการแสดงออกของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการต่าง ๆ อย่างประสาทหลอน หลงผิด ปลีกตัวจากสังคม หรือไม่สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ 

    จากที่กล่าวมา แนะนำการไปพบจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการให้ได้การวินิจฉัยที่แน่ชัด ไม่ต้องกลัวหรืออายที่จะไปประเมินอาการหรือเข้ารับการรักษา เพราะจากที่กล่าวมา อาการที่มีอยู่อาจมีอันตรายต่อตนเองหรือคนรอบข้างได้ ในเบื้องต้นพยายามทำจิตใจให้สงบ หาสิ่งที่ชอบทำ ใช้เวลากับคนในครอบครัวในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ร่วมกัน