ถามแพทย์

  • หดหู่ ซึมเศร้า รู้สึกว่าโลกว่างเปล่า มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย เป็นโรคอะไร

  •  ongja
    สมาชิก
    เดือนนี้เป็นเดือนเกิดของฉันค่ะ แต่เมื่อเดือนที่แล้วมีเรื่องที่ฉันสร้างปัญหาขึ้นและฉันก็คิดว่ามันไม่มีทางแก้ไขอะไรได้ แต่บรรดาน้า ป้า ลุง ทุกคนพยายามที่จะช่วยเหลือทุกวิถีทาง ทั้งพยายามพูดคุยให้กำลังใจแต่ฉันกลับรู้สึกไม่อยากเข้าใกล้พวกเขามากขึ้นยิ่งพวกเค้ามาพูดคุยด้วยเท่าไหร่ฉันยิ่งอยากเดินหนีพวกเค้ามากขึ้นเท่านั้น ส่วนพ่อกับแม่ของฉันก็ช่วยนะค่ะ และพวกแกก็ปลงแล้วว่าเรื่องที่เกิดขึ้นไม่มีทางแก้ไขได้แค่ปล่อยให้มันเป็นไปจนได้ยินคำพูดพ่อที่ว่า คิดซะว่าไม่มีลูกแบบเรา ส่วนแม่ไม่ค่อยพูดกับเราค่ะ ตอนนี้สำหรับฉันไม่อยากทำให้ทุกคนมีปัญหา เจ็บช้ำเพราะฉัน อยากให้เรื่องนี้มันจบลงสักทีแต่ไม่เคยคิดฆ่าตัวตายน่ะค่ะแต่ถ้าเราตายได้ก็ดีเรื่องก็จะจบ อันที่จริงฉันเป็นคนที่ชอบอยู่คนเดียวค่ะ มีความรู้สึกว่าการอยู่คนเดียวมีความสุขกว่าการที่จะต้องไปนั่งคุยกับเพื่อนหรือญาตืพี่น้อง เลยชอบที่จะอ่านหนังสือคนเดียว แต่ตอนนี้ตั้งแต่เกิดเรื่องไม่ได้จับหนังสือมาอ่านเลย เคยคิดว่าจะจับมาอ่านแต่ก็ไม่อยากอ่าน อาการอื่นๆก็เบื่ออาหาร 2 อาทิตย์ที่ผ่านมาน้ำหนักลงไป 5 กิโล ป้าเราเข้ามาถามว่าไปหาหมอมั้ย ป้ากลัวหนูจะเป็นโรคซึมเศร้าเดี๋ยวป้าพาไปเอง ก็เลยตอบไปว่าไม่ไปเพราะตัวเองไม่ได้เป็น ไม่ได้อยากคืดฆ่าตัวตาย แม้แต่ตอนนี้เรื่องที่เกิดขึ้นฉันกลับไม่มีน้ำตาสักหยดมันเหมือนมันว่างเปล่าโลกใบนี้ช่างใหญ่โตส่วนฉันก็เป็นแค่มนุษย์ตัวเล็กๆคนหนึ่งบนโลกใบนี้ที่ไม่สำคัญอะไร ขอบคุณนะค่ะที่อ่านจนจบเรื่องนี้ไม่เคยพูดออกมาเลยสักครั้ง
    ongja  พญ.นรมน
    สมาชิก

     สวัสดีค่ะคุณongja

    อาการหดหู่ ซึมเศร้า รู้สึกว่าโลกว่างเปล่า มีความคิดอยากฆ่าตัวตายนั้น อาจเข้าข่ายโรคซึมเศร้า ภาวะซึมเศร้า ความผิดปกติทางอารมณ์และบุคลิกภาพไปอย่างผิดปกติ

    ซึ่งจากที่กล่าวมา ก็เข้าข่ายโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน โดย การจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้านั้น ผู้ป่วยจะมีภาวะซึมเศร้าติดต่อกันอย่างน้อย 2 อาทิตย์ขึ้นไป โดยไม่มีช่วงที่ดีขึ้นเลย มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย อาจมีอาการเบื่ออาหาร หรือในบางรายก็จะไปรับประทานทานอาหารมากขึ้น น้ำหนักเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นอนน้อยหรือนอนมากกว่าปกติ และเก็บตัวมากจนไม่ออกไปทำงาน ไม่ออกไปเข้าสังคม

    แนะนำการไปพบแพทย์เพื่อประเมินสุขภาพจิตอย่างละเอียดและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อเนื่อง ในเบื้องต้น พยายามตั้งสติ แก้ปัญหา นึกถึงสิ่งดีๆที่มีในชีวิต ไม่คิดมากจนเกินไป หาเรื่องที่ชอบทำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ พูดคุยระบายความรู้สึกกับผู้ที่ไว้ใจได้