ถามแพทย์

  • สอบถามเรื่องประเภทของโรคซึมเศร้าค่ะ

  •  Kornkanok Wangsook
    สมาชิก

    รบกวนคุณหมอด้วยนะคะ คือ เราไปหาข้อมูลของประเภทโรคซึมเศร้าในหลายๆที่มันไม่เหมือนกันค่ะ บางที่บอกมี3ประเภทคือเพิ่มโรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ ดิสออเดอร์มาด้วยค่ะ แต่ในบทความนี้มี2ประเภท คืออยากสอบถามค่ะว่ามันแตกต่างกันอย่างไรคะ ขอบคุณมากๆค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ Kornkanok Wangsook ถ้าจะแบ่งจริงๆ ตามทางจิตเวช จะแบ่งออกได้หลายอย่างค่ะ ขึ้นอยู่กับว่าเราเข้าได้กับภาวะซึมเศร้าแบบไหนค่ะ ใหญ่ๆ มีดังนี้ค่ะ

    • Major Depression. ภาวะที่มีความซึมเศร้ามากกว่า สอง อาทิตย์ ร่วมกับมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่น นอนมากขึ้น หรือ น้อยลง หรือ นอนไม่หลับ พฤติกรรมการรับประทานอาหารเปลี่ยนไป น้ำหนักลดหรือเพิ่ม แต่ต้องมีอาการอย่างน้อย สอง อาทิตย์ค่ะ รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า มีความผิดอยากฆ่าตัวตายค่ะ
    • Persistent Depressive Disorder. ภาวะซึมเศร้าที่มีอาการมากกว่า สองปี หรือ สองปีขึ้นไปค่ะ อาจจะมีอาการน้อยๆ หรือ มีอาการมากไปเลยก็ได้ค่ะ แต่ต้องมีอาการนานค่ะ คือ สองปีค่ะ
    • Bipolar Disorder. คือ กลุ่มอาการที่มีทั้ง ภาวะซึมเศร้า และ ภาวะที่ตื่นตัว ค่ะ คือ บางครั้งอาจจะเศร้าไปเลยไม่อยากทำอะไร บางครั้งก็ทำมากเกินไป แบบคุมตัวเองไม่ได้ เช่น การไปซื้อของที่ไม่จำเป็น ราคาแพง แบบไม่ยั้งคิดอะไรพวกนี้ เป็นต้นค่ะ
    • Seasonal Affective Disorder (SAD) เป็นภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ ในประเทศไทยจะไม่ค่อยเจอค่ะ เพราะว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ชัดเจน มักเกินในประเทศที่มีอากาศหนาว หรือ มืดเร็วเกินไปค่ะ มักเกิดในฤดูหนาว ส่วนใหญ่เกิดในประเทศแถบอเมริกา และ ยุโรปค่ะ คือเศร้าเวลาไม่เจอแสงพระอาทิตย์ค่ะ ส่วนใหญ่แก้ได้ด้วยการใช้ไฟพิเศษที่มีคลื่นความถี่เฉพาะ โดยให้เราไปนั่งใต้ไฟนั้นค่ะ เป็นเวลา สามสิบนาที หรือ หนึ่ง ชั่วโมงต่อวันค่ะ
    • Psychotic Depression. ภาวะที่มีความซึมเศร้าอย่างมาก ร่วมกับการมองเห็นภาพหลอน หรือ ได้ยินเสียงแปลกๆ เชื่อในสิ่งที่ผิด และมีเรื่องความหวาดระแวงเข้ามาร่วมด้วยค่ะ
    • Peripartum (Postpartum) Depression. ภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นหลังคลอดค่ะ ส่วนใหญ่เกิดในมารดาที่มีไม่พร้อมที่จะรับสมาชิกใหม่เข้ามาในครอบครัว กลัวการเลี้ยงทารก ซึ่งปกติจะหายเองได้ค่ะ ซึ่งอาจจะเป็นในระยะสั้นๆ หรือ มารดาบางคนก็เป็นระยะยาว แล้วทำให้เกิดเป็นภาวะซึมเศร้าที่เป็นหนักก็ได้ค่ะ ในกรณีนี้การช่วยเรื่องจิตบำบัดจะดีที่สุดค่ะ
    • Premenstrual Dysphoric Disorder (PMDD) ภาวะนี้เกิดกับสุภาพสตรีที่ใกล้จะมีรอบประจำเดือนค่ะ อาจจะทำให้มีภาวะซึมเศร้าได้ค่ะ กังวล อารมณ์แปรปรวน เหนื่อยอ่อนเพลีย ตัดสินใจอย่างไร้เหตุผล มีการเปลี่ยนแปลงทางการนอน การรับประทานอาหาร หรือ ความอยากอาหารอาจจะลดลง หรือ เพิ่มขึ้นคะ
    • 'Situational' Depression. ภาวะซึมเศร้าที่เกิดเนื่องมาจากไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ในชีวิตได้คะ
    • Atypical depression ภาวะซึมเศร้าที่ต้องมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าไม่เข้ากับอะไร จะดีขึ้นได้ถ้ามีแรงกระตุ้นทางบวก

       

      การรักษาส่วนใหญ่จะใช้ยาต้านเศร้า หรือ ยาปรับอารมณ์ และ การทำจิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด หรือ การใช้องค์ประกอบอื่นๆ ค่ะ