ถามแพทย์

  • ปวดหัวข้างเดียว ปวดลามจนถึงฟันกราม ทานยา หายปวดไปพักนึงเป็นอีก อยากทราบสาเหตุ เป็นโรคอะไรหรือเปล่า

  •  CatsN
    สมาชิก
    สวัสดีค่ะ พอดีปวดหัวซีกซ้ายข้างเดียวมาตั้งแต่เย็นวันอาทิตย์ที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ ปวดบริเวณขมับซ้ายลามลงมาจนปวดฟันกรามไปด้วย เวลาทานอาหารก็จะเสียวฟันและปวดจี๊ดขึ้นไปบนหัว เมื่อเช้าวันจันทร์ลองทานยาพาราแล้วพักผ่อนอาการปวดหัวก็หายไปหลังจากตื่นมาได้ราวๆ1ชม.เท่านั้นค่ะ แล้วก็กลับมาปวดหัวอีกจนถึงตอนนี้ กระทั่งตอนหลับพักผ่อนก็ปวดหัวตุ้บๆและเสียวฟันอยู่ตลอดเวลาเลยค่ะ อยากทราบว่าพอจะมีสาเหตุอะไรบ้างที่เกิดอาการปวดหัวแบบนี้ หรือว่าอาการแบบนี้เป็นโรคอะไรหรือเปล่าคะ เพราะว่าปวดมาก เวลาเจอแสงหรือได้กลิ่นอะไรนิดหน่อยก็จะปวดหัวหนักขึ้นตลอดเลยค่ะ

    อาการปวดหัว สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
    1. ปวดศีรษะชนิดปฐมภูมิ เช่น ไมเกรน, จากความเครียด
    2. ปวดศีรษะชนิดทุติยภูมิ
    3. ปวดศีรษะจากเส้นประสาทสมอง

    โดยอาการปวดหัวส่วนใหญ่มักเกิดจากสาเหตุที่ไม่อันตราย แต่การแสดงออกของโรคบางครั้งแยกยากจากสาเหตุที่มีความรุนแรง

    อาการปวดศีรษะชนิดทุติยภูมินั้นสามารถเกิดได้จากการดึงรั้ง กด เบียด อักเสบ การขยายตัวหรือเกร็งตัวของหลอดเลือด ซึ่งเกิดกับบริเวณที่สามารถรับความรู้สึกเจ็บปวดได้ แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. ภายในศีรษะ 2.ภายนอกศรีษะ

    จากลักษณะอาการคร่าวๆของ จขกท อาจจะนึกถึง โรคไมเกรน ได้
    โรคไมเกรน หรือโรคปวดหัวข้างเดียว 
    - เป็นโรคปวดหัวเรื้อรัง มักมีอาการกำเริบเป็นพักๆ อาจพบอาการคลื่นไส้ หรือออกแสงจ้าไม่ได้ร่วมด้วย
    - ปัจจัยเสี่ยง : พันธุกรรม ซึ่งมักมีอาการนำ เช่น เห็นจุดดำๆ รู้สึกซ่าที่มือที่หน้า เห็นแสงวาบๆ, โรคลมชัก, โรคหืด, โรคซึมเศร้า/วิตกกังวล
    - แนวทางการรักษา : หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น ความเครียด แสงแดดร้อนจ้า หอมน้ำที่มีกลิ่นฉุน นอนหลับไม่เพียงพอ และทานยาที่ช่วยบรรเทาอาการขณะปวดหัว เช่น ยาคาเฟอร์กอท เป็นต้น หรืออาจจะใช้วิธีรักษาทางเลือก เช่น ฝังเข็ม เล่นโยคะ เพื่อเพิ่มความผ่อนคลาย

    จากลักษณะอาการคร่าวๆของ จขกท อาจจะนึกถึง โรคไมเกรน ได้แต่แต่บางครั้งลักษณะอาการปวดหัวของแต่ละโรคอาจคล้ายกัน โดยถ้าหากปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นแล้วอาการปวดหัวยังไม่หาย หรือมีอาการมากยิ่งขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบประสาท เนื่องจากการวินิจฉัยสาเหตุของอาการปวดศีรษะได้นั้น ต้องอาศัยการซักประวัติ ลักษณะอาการ/เวลาการเกิด ตรวจร่างกาย และทำการสืบค้นเพิ่มเติมอย่างละเอียด จึงจะสามารถวินิจฉัยหาสาเหตุและวางแผนการรักษาได้ครับ