ถามแพทย์

  • ตับอักเสบแต่ไม่ใช่จากไวรัส แพทย์ให้ยาลดไขมันมากิน ถ้าจะควบคุมไขมันแทนการกินยาได้หรือไม่

  •  Natthika Beer
    สมาชิก

    สวัสดีค่ะมีเรื่องรบกวนคุณหมอค่ะ 

    สามีอายุ 44 ปีหนัก 53 สูง 166 ไม่ทานเหล้าไม่สูบบุหรี่ ตรวจพบอาการตับอักเสบแต่ไม่มีไวรัสเมื่อประมาณ 3 ปีก่อน ค่าตับดังนี้ค่ะ

    เดือน 8 2017 ค่าตับ 38/86

    เดือน 9 2017 ค่าตับ 25/54

    เดือน 1 2018 ค่าตับ 34/68

    เดือน 4 2018 ค่าตับ 84/208   ***สูงสุด

    เดือน 5 2018 ค่าตับ 33/74

    เดือน 6 2018 ค่าตับ 70/167

    เดือน 7 2018 ค่าตับ 23/42

    เดือน 9 2018 ค่าตับ 26/53

    เดือน 11 2018 ค่าตับ 26/53

    เดือน 2 2019 ค่าตับ 56/71

    เดือน 5 2019 ค่าตับ 25/45

    เดือน 6 2019 ค่าตับ 32/47

    เดือน 8 2019 ค่าตับ 31/55

    เดือน 1 2020 ค่าตับ 23/42

    เดือน 6 2020 ค่าตับ 30/42

    ปัจจุบัน  11 2020 ค่าตับ 49/85

     

    ตอนนี้เครียดมากเลยค่ะ ว่าทำมั๊ยค่าตับกลับมาสูงอีกแล้ว ทั้งๆที่หายอักเสบมาปีกว่าๆ 

     

    ตอนนี้หมอให้ทานยาลดไขมันโรซูวาส 10 mg.ต่อเนื่องมาปีกว่าๆเนื่องจากค่าไขมันเกินเฉลี่ยประมาณ 230-250

    และปัจจุบันให้ทานวิตตามินอีเพิ่มวันละ 2 เม็ด (ก่อนหน้านี้เคยให้ทานวิตตามินอีแต่สั่งงดไปเมื่อค่าตับกลับมาปกติ)

    อัลตร้าซาวด์ทุกๆ 6 เดือนผลปกติค่ะ

     

    รบกวนคุณหมอช่วยวิเคราะห์อีกแรงนะคะ ตอนนี้เครียดมากค่ะ อยากถามคุณหมอเป็นข้อๆ นะคะ

    1 ควรงดทานยาลดไขมันมั๊ยคะ แล้วควบคุมอาหารเอง

    2 อาหารหวานมีผลต่อตับอักเสบมั๊ยค่ะเพราะช่วงสามเดือนนี้ทานชานมเกือบทุกวัน และตอนเย็นทานซีสเค๊กค่ะ

    3 เคยอ่านเค้าบอกว่าถ้าทานโคเอนไซคิวเทนอาจจะช่วยได้ ถ้าหากจะซื้อกินจะมีผลเสียต่อตับมั๊ยค่ะ

    4 สาเหตุของตับอักเสบมาจากอะไรคะ เพราะไม่มีไวรัส หรืออาจจะมาจากยาลดไขมันได้มั๊ยคะ

    5 หากเราควบคุมอาหารอย่างเด็ดขาด และออกกำลังกายควบคู่ มีโอกาสจะค่าตับลดลงมั๊ยคะ

    6 อาการตับอักเสบเป็นๆ หายๆ และเว้นระยะการอับเสบมาปีกว่าๆ แบบนี้เรียกว่าตับอักเสบเรื้อรังมั๊ยคะ แอบเครียดค่ะ

     

    กราบขอบพระคุณคุณหมอค่ะ

     

    Natthika Beer  พญ.นรมน
    สมาชิก

    สวัสดีค่ะคุณ Natthika Beer

    ตับอักเสบในกรณีดังกล่าวน่าจะเกิดจากการมีไขมันพอกตับ แพทย์จึงให้ยาลดไขมันมากินร่วมด้วย ในภาวะนี้จะเรียกว่ามีตับอักเสบเรื้อรังก็ได้เช่นกัน

    แนะนำการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง เพราะน่าจะมีการตรวจระดับไขมันในเลือดติดต่อกันหลายครั้งแล้ว อาจจะพบว่าไม่สามารถควบคุมได้เองด้วยการควบคุมอาหาร จึงต้องมีการใช้ยาเข้ามาร่วมด้วยค่ะ

    อาหารหวานนั้น มักจะมีความมันปนอยู่ด้วย และอาจทำให้มีไขมันมากขึ้น ไปพอกตับได้มากขึ้นอีก จึงควรหลีกเลี่ยง กินแต่อาหารจืดๆจะดีที่สุด

    การใช้โคเอนไซม์คิวเทนดังกล่าวมานั้น ยังไม่ได้มีรายงานทางการแพทย์รับรองชัดเจนว่ารักษาภาวะไขมันพอกตับได้ แนะนำการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้นจะดีที่สุด และควรงดการดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดการที่จะทำให้ตับอักเสบมากขึ้น หากยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอหรือบีควรรับด้วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่ตับซึ่งจะทำให้ตับอักเสบมากขึ้นได้เช่นกัน