ถามแพทย์

  • โรคท้าวแสนปมมีโอกาสที่ตุ่มจะใหญ่กว่านี้ เยอะกว่านี้ไหมค่ะ

  • ตอนนี้อายุ33ปีค่ะ มีตุ่มใต้ผิวหนังที่แขน 5-6ปีที่แล้วมีไม่เท่าไร แต่ตอนนี้เหมือนมากกว่าเดิม เคยไปตรวจหมอบอกเป็นโรคนี้ "เค้าบอกว่าถ้าโชคดีก็ไม่โต แต่ถ้าโชคร้ายตุ่มจะโตเรื่อยๆ แต่เครือญาติไม่มีใครเป็นโรคนี้เลยนะค่ะ "อยากทราบว่าอายุเท่านี้ มันมีโอกาสที่ตุ่มจะใหญ่กว่านี้ เยอะกว่านี้ไหมค่ะ ตุ่มที่แขนมองผ่านๆจะไม่ค่อยเหนค่ะ แต่ถ้าเอามือลูบดูก้ประมานข้างละ 20-30ตุ่มค่ะ

    สวัสดีค่ะ คุณ รัชนู งามเปราะ

    รคท้าวแสนปมแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ค่ะ

    • นิวโรไฟโบรมาโตซิส ชนิดที่ 1 จัดเป็นชนิดของโรคที่พบได้ทั่วไปมากที่สุด มักปรากฏอาการตั้งแต่เป็นเด็ก หรือบางครั้งก็ตั้งแต่แรกคลอด โดยโรคชนิดนี้จะทำให้ผิวหนังผิดปกติและทำลายกระดูก ผิวหนังจะมีจุดสีแทนหรือน้ำตาลอ่อนขึ้นหลายจุด รวมทั้งมีก้อนนิ่ม ๆ โตขึ้นมาบนผิวหรือใต้ผิว เนื้องอกอาจเกิดขึ้นได้ที่สมอง เส้นประสาทสมอง หรือไขสันหลัง
    • นิวโรไฟโบรมาโตซิส ชนิดที่ 2 เป็นชนิดของโรคที่พบได้น้อยกว่าชนิดแรก โดยเกิดเนื้องอกที่เส้นประสาทและไขสันหลัง เนื้องอกจะขึ้นมาที่เส้นประสาทการได้ยินทั้งสองข้าง ทำให้ค่อย ๆ สูญเสียการได้ยิน มักเกิดขึ้นในวัยรุ่นหรือผู้ที่มีช่วงอายุ 20 ปีต้น ๆ
    • เนื้องอกชวานโนมา (Schwannomatosis) เนื้องอกชนิดนี้เพิ่งจัดอยู่ในเนื้องอกชนิดที่ 3 ของโรคท้าวแสนปมเมื่อไม่นาน ถือเป็นชนิดที่หาได้ยาก  ผู้ป่วยเนื้องอกชวานโนมาจะมีเนื้องอกของเซลล์เนื้อเยื่อในเส้นประสาทแบบไม่ร้ายแรงขึ้นทั่วร่างกาย โดยเนื้องอกไม่ได้เกิดขึ้นที่บริเวณเส้นประสาทของหู จึงทำให้ผู้ป่วยไม่สูญเสียการได้ยิน เนื้องอกชวานโนมาจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยอายุ 20 กว่าและมักเจ็บปวดเรื้อรัง

      โรคท้าวแสนปมประเภทนิวโรไฟโบรมาโตซิส ชนิดที่ 1 และ ชนิดที่ 2 นั้น ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยผู้ป่วยท้าวแสนปมกว่าครึ่งหนึ่งมักได้รับพันธุกรรมของโรคมาจากบุคคลในครอบครัว อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยท้าวแสนปมอีกประมาณร้อยละ 50 ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นท้าวแสนปมโดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนโรคท้าวแสนปม การดำเนินของโรคจะแตกต่างกันใต่ละชนิดค่ะ โรคนี้แม้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีขั้นตอนการตรวจติดตาม แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษาหรือแพทย์อายุกรรมเพิ่มนะคะ