ถามแพทย์

  • เป็นเชื้อราที่เล็บ เนื้อเล็บแข็งขึ้น เป็นสีขาวขุ่นปนเขียว ซื้อยามาหยอด ไม่อยากกินยาและถอดเล็บ

  •  Prawlnapa Sukawat
    สมาชิก

    ไปตีแบดแล้วใส่รองเท้าคับไปจนเกิดห้อเลือดเมื่อปี2561ที่นิ้วโป้งทั้งสองข้าง แล้วก็ไม่ได้ไปหาหมอ รอให้มันหายเองเพราะไม่อยากถอดเล็บ มันม่วงขึ้น จนเริ่มมีอาการเล็บเปิดออกจากเนื้อ แข็งขึ้น เป็นสีขาวขุ่่นปนเขียว ผ่านมาหนึ่งปีเล็บขึ้นใหม่ ข้างขวาเริ่มหายเป็นปกติไม่มีสีขาวขุ่นๆ แต่ข้างซ้ายยังมีสีขาวขุ่นอยู่ซึ่งมารู้ทีหลังว่าเป็นเชื้อรา และได้มีการขยายไปทั้งเล็บเหลือตรงโคนไว้นิดนึง ด้านข้างยังมีการยึดติดอยู่ไม่หลุด ตรงกลางเป็นรูเนื้อเยื่อไม่ติดเล็บ

    เดือนสิงหา2563 ซื้อยา Loprox มาหยอดหลังหยอดแอลกอฮอลเพื่อฆ่าเชื้อไปก่อนบางทีก็ไฮโดรเจนเปอออกไซด์ สีเขียวที่เล็บก็หายไปเหลือแต่ขาวขุ่น  ตอนนี้ 17/9/2563 กินยา นินาซอล (Ketoconazole) เม็ดแรก 

    คำถามคือไม่อยากถอดเล็บและกินยา สามารถหยอดยาไปเรื่อยๆได้มั้ย เชื้อราตัวนี้จะหายรึป่าวคะ เพราะอ่านมาว่ากินยาตัวนี้จะส่งผลต่อตับได้

    ส่วนตัวไม่มีอาการแพ้ยาใดๆ และไม่ได้เคยรักษาเชื้อราภายในระยะเวลาก่อนหน้านี้เลย1-3เดือน

    สวัสดีค่ะ คุณ Prawlnapa Sukawat,

                        หากได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่า เป็นเชื้อราที่เล็บ ก่อนเริ่มการรักษา ควรได้มีนำชิ้นเนื้อไปรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการก่อน เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค 

                         ส่วนการรักษานั้นมีหลายรูปแบบ ขึ้นกับความยากง่ายในการรักษาด้วย เช่น ชนิดของเชื้อรา พื้นที่ที่เล็บติดเชื้อรา มีการติดเชื้อบริเวณด้านข้างของเนื้อเล็หรือไม่ ความหนาตัวของเล็บ รวมถึงการพบแถบสีเหลือง  สีส้มหรือสีขาวในเนื้อเล็บ ก็จะบ่งบอกว่ามีก้อนเชื้อราอัดแน่นอยู่ใต้เล็บ ทำให้การรักษาค่อนข้างยากและใช้เวลานานได้  นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวที่มีอยู่ด้วย

                         สำหรับการรักษาโรคเชื้อราที่เล็บ ได้แก่

                         - การใช้ยาทาเฉพาะที่  ซึ่งมีความปลอดภัยสูง ไม่ค่อยเกิดผลข้างเคียง ยาทามีหลายรูปแบบ เช่น ชนิดที่เป็นสารละลาย หรือชนิดที่เป็นยาทาเคลือบเล็บ ยาทาบางชนิดสามารถทาที่เล็บสัปดาห์ละ 1 ครั้ง การเลือกรักษาด้วยยาทาเฉพาะที่นั้น จะใช้ได้ หากเป็นเชื้อราที่มีจำนวนเล็บไม่มากนัก และไม่มีลักษณะที่ทำให้เกิดการรักษาได้ยาก เช่น มีรอยโรคเชื้อราที่ลามไปถึงโคนเล็บ เล็บมีหนาตัวขึ้นมาก เป็นต้น

                       - การใช้ยารับประทาน ซึ่งย่อมเกิดผลข้างเคียงได้มากกว่ายาทาเฉพาะที่ แต่ก็จะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า 

                       - การใช้วิธีการอื่นๆ เช่น การใช้แสงเลเซอร์ หรือการใช้ครีมหรือสารเคมีที่ช่วยเสริมการรักษาโรค เป็นต้น

                        แนะนำว่าไม่ควรซื้อยามาทาหรือรับประทานเอง หากยังไม่ได้รับการวินิจฉัยที่แน่นอน หรือยังไม่ได้รับการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง เพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาที่เหมาะสมค่ะ การซื้อยาทาหรือรับประทานเอง อาจไม่ตรงกับชนิดเชื้อราที่เป็นอยู่ ทำให้ไม่หายหรือหายช้าได้ หรือในกรณีที่ต้องทานยา แพทย์ก็จะมีการติดตามอาการและผลข้างเคียง ซึ่งก็จะทำให้เราสามารถทานยาได้โดยปลอดภัยค่ะ