ถามแพทย์

  • นั่งเรียนแล้วเหม่อ อาการเข้าข่ายสมาธิสั้นหรือไม่

  • อยากสอบถามคุณหมอ อาการดังที่จะกล่าวต่อไปนี่เข้าข่ายโรคสมาธิสั้น หรือไม่คะ และควรปรึกษาหมอหาวิธีทีรักษาอย่างไรคะ 1.นั่งเรียนฟังครูสอน ได้สักพัก ก็รู้สึกเหมือนเหม่อๆ (ตายังจ้องที่ครูสอนอยู่) ฟังได้ยินที่พูดแต่เหมือนกับฟังผ่านๆไป ไม่รู้ว่าพูดไรไปบ้าง 2.เวลาทำงานเรื่องๆนึงอยู่ พอมีเรื่องอื่นมาแทรก ก็จะลืมทำงานที่ปัจจุบันทำอยู่ เป็นอย่างงี้ทุกครั้งค่ะ 3. ตอนทำงานพลาด มักจะแก้ได้บ้างบางครั้ง ถ้าแก้ได้ ก็จะไปพลาดจุดใหม่ ทั้งที่เคยไม่เคยทำพลาด 4. บ่อยครั้งที่กำลังจะเดินไปหยิบของอะไร เมื่อใกล้ถึงจุดๆที่ของวาง ก็จะลืมว่า เราเดินมาทำอะไร จะหยิบอะไร หรือถ้าคิดแล้วว่าจะเสิร์ทหาข้อมูล ข้อมูลนึง พอเปิดคอมได้มักจะลืมว่า เราต้องการหาข้อมูลอะไร 5. มักนอนไม่ค่อยหลับ 6. หงุดหงิดง่าย ทั้งที่บางเรื่องก็ไม่น่าหงุดหงิด 7. ความคิดวอกแวกบ่อย ในขณะที่มีทำกิจกรรมบางอย่าง และไม่ได้ทำกิจกรรม

    สวัสดีค่ะ คุณ ไม่บอก ปล่อยให้งง

    การทำงานของสมอง และความจำของคนเราขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการรวมทั้งภาวะสมอง อารมณ์ และความคิด การที่ความสามารถในการทำงานและความจำลดลงหรือเปลี่ยนแปลงไป อาจเกิดความจากผิดปกติของอารมณ์ หรือความคิด โดยไม่จำเป็นต้องเกิดจากความผิดปกติของสมองเพียงอย่างเดียวอย่างที่เข้าใจกัน การทำงานของสมอง ความจำแย่ลงหรือเปลี่ยนแปลงไปเกิดได้จากสาเหตุหลายประการ ได้แก่

    • การใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น ยานอนหลับ ยาคลายกังวล ยาแก้ปวดอย่างแรงบางชนิด

      • สารเสพติด รวมถึงแอลกอฮอล์ และบุหรี่ การใช้สารเหล่านี้เป็นเวลานาน ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองลดลง ทำให้ความจำแย่ลงได้

      • ภาวะอดนอนมาเป็นเวลานาน จนทำให้ร่างกายอ่อนล้า และส่งผลกระทบต่อความจำได้

      • ภาวะทางอารมณ์และจิตใจ เช่น อารมณ์ซึมเศร้า หรือภาวะเครียด และการเลี้ยงดูก็เป็นปัจจัยสำคัญในปัญหาพฤติกรรมในเด็ก

      • การขาดวิตามินบางอย่าง เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 12  อาจเป็นต้นเหตุของความจำที่แย่ลงได้

      • การถูกกระทบกระเทือนทางสมองอย่างแรง ก็อาจทำให้สับสน ความจำลดลงได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปความจำมักดีขึ้น

      • สาเหตุอื่น เช่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (ฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ) การติดเชื้อบางชนิด เช่น ซิฟิสิส, HIV(เอดส์) เป็นด้น

        โรคสมาธิสั้น มักไม่สามารถจดจ่อตั้งใจทำสิ่งใดให้สำเร็จ ขี้ลืม ไม่ใส่ใจคำสั่ง อยู่ไม่นิ่ง ไม่ชอบอยู่กับที่ ไม่อดทน หุนหันพลันแล่น  อาจเริ่มมีอาการตั้งแต่ช่วงอายุ 3-6 ปี โดยอาการจะแสดงออกอย่างชัดเจนและวินิจฉัยได้ในช่วงอายุ 6-12 ปี แนะนำว่าควรจะไปพบแพทย์เพื่อประเมินความคิดความจำอย่างละเอียดต่อไป แพทย์จะซักถามอาการ พฤติกรรม และกิจวัตรประจำวันทั้งในปัจจุบัน และอดีตที่ผ่านมา สอบถามสภาวะทางจิตใจ เพื่อประเมินว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด อาจถามเกี่ยวกับโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ ยาที่ใช้เป็นประจำ หลังจากนั้นจะตรวจร่างกาย และทดสอบความจำ และความคิด หรืออาจตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุ เพื่อให้การวินิจฉัยที่แน่นอนต่อไปค่ะ