ถามแพทย์

  • อายุ 28 ปี มักมีอาการมึนหัว สมาธิสั้น แน่นหน้าอก หน้ามืดเวลาเจอที่ร้อนๆ หรือดื่มแอลกอฮอลล์ เป็นแพนิคไหม

  •  Dreamsaler
    สมาชิก
    ผมอายุ 28 ปี ดื่มเหล้า : อาทิตย์ละครั้ง / มากกว่า สูบบุหรี่ : 10 - 15 มวน ดื่มน้ำอัดลม : บ่อย /วันละขวดลิตร (ทานกันหลายคน) การดื่มน้ำเปล่า : น้อยมาก (กินน้ำเท่าที่กินข้าว) การทานอาหาร : ปัจจุบันทานอาหารตรงเวลา แต่ไม่ค่อยได้ทานผลไม้ครับ การออกกำลังกาย : มีบางเป็นบางครั้ง (อาทิตย์ละครั้ง แต่ไม่นานมาก) อาการที่เกิดขึ้น : 1. มีอาการมึนๆ วิงเวียน คล้ายจะเป็นลม / และสมาธิสั้น บ่อยๆ 2. จะมีอาการหน้ามืดเหมือนจะเป็นลมในกรณี่ทำอะไรเล็กๆน้อยๆ และมีอากาศร้อน / เมื่อไปทานอาหารเช่น ชาบูที่อยู่บริเวณหน้าเตาร้อนๆ ทานไปสักพักะรู้สึกแน่นหน้าอกและจะเป็นลมในหลายๆครั้ง 3. ทุกเย็น/ทุกคืนจะมีอาการหน้าแน่นหน้าอก หรือ หัวใจเต้นแรง หรือ เต้นผิดจังหวะ และจะระแวงและกังวลตลอดจนไปถึงเวลานอน (ในกรณีดื่มแอลกอฮอลจนมึนเมา จะไม่มีอาการกังวลดังกล่าวครับ) 4. วันหลังจากที่ดื่มแอลกอฮอลทุกครั้ง วันรุ่งขึ้นจะมีอาการใจหวิว เคว้งคว้าง เบลอ แน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ ในช่วงเวลาบ่ายๆถึงเย็นๆ ครับ การรักษาอาการเบื้องต้น - เคยไปพบแพทย์ใกล้บ้านและทำการ EKG เพื่อตรวจคลื่นหัวใจ ทำการเอ๊กซ์ปอด และเจาะเลือด แล้วปกติ - เคยไปพบแพทย์ที่คลีนิคและทำการ ECHO เพื่อตรวจคลื่นหัวใจก็ปกติ - ส่วนมากที่แน่นหน้าอกแล้วไปพบแพทย์ แพทย์จะวินิจฉัยโรคว่า เป็นโรคกระเพาะ และ โรคกระดูกอ่อนบริเวณหน้าอกอักเสบ สิ่งเร้าที่อาจทำให้เกิดโรคเพิ่มเติม - มีนิสัยคิดมาก (ครอบครัว/การเงิน/การางแผนอนาคต) - สภาวะกดดันตัวเอง รบกวนคุณหมอช่วยวินิจฉัยและให้คำแนะนำด้วยครับ. ขอบคุณมากครับ. ^^

    สวัสดีครับ คุณ Dreamsaler

            โรคแพนิค (Panic Disoder) คือ ภาวะตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลหรือหาสาเหตุไม่ได้  ผู้ป่วยจะเกิดอาการแพนิค (Panic Attacks) หรือหวาดกลัวอย่างรุนแรงทั้งที่ตัวเองไม่ได้เผชิญหน้าหรือตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย อาการแพนิคเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคแพนิครู้สึกกลัวและละอาย เนื่องจากไม่สามารถควบคุมตัวเองหรือดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

             โดยผู้ป่วยโรคแพนิคจะเกิดอาการ ดังนี้

    • หัวใจเต้นเร็ว
    • หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนขาดอากาศ
    • หวาดกลัวอย่างรุนแรงจนร่างกายขยับไม่ได้
    • เวียนศีรษะหรือรู้สึกคลื่นไส้
    • เหงื่อออกและมือเท้าสั่น
    • รู้สึกหอบและเจ็บหน้าอก
    • รู้สึกร้อนวูบวาบ หรือหนาวขึ้นมาอย่างกะทันหัน
    • เกิดอาการเหน็บคล้ายเข็มทิ่มที่นิ้วมือหรือเท้า
    • วิตกกังวลหรือหวาดกลัวว่าจะตาย รวมทั้งรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตได้
    • กังวลว่าจะมีเหตุการณ์อันตรายเกิดขึ้นในอนาคต
    • หวาดกลัวและพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่หรือสถานการณ์อันตรายที่ทำให้รู้สึกหวาดกลัวในอดีต

    การวินิจฉัย นั้น - แพทย์จะทำการซํกประวัติตรวจร่างกาย เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีโรคทางกายที่ทำให้เกิดอาการ แพทย์อาจให้ทำแบบประเมินทางจิตวิทยาและสอบถามประวัติการใช้สารเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อประกอบการวินิจฉัย 

    การรักษา - จิตบำบัด การรับประทานยา

     

    การป้องกันและดูแลตัวเองเบื้องต้นโรคแพนิค

    • งดหรือลดดื่มเครืองดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา โคล่า หรือช็อกโกแลต
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วน
    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดอาการง่วงเซื่องซึมระหว่างวัน
    • เข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง 
    • เมื่อเกิดอาการแพนิคขึ้นมา ควรพยายามตั้งสติ พุ่งความสนใจไปยังสิ่งที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย 

     

          ดังนั้นจากกรณีของคุณหมอแนะนำว่าอาจไปพบกับจิตแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจนอีกครั้งครับ หากเป็นก็จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป