ถามแพทย์

  • ร้องไห้บ่อย เครียด อารมณ์หงุดหงิด มีปัญหาภาระเรื่องครอบครัวเรื่องงานมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายค่ะ

  •  MMKK14
    สมาชิก

    สวัสดีคะ หนูอายุ 23 ปี พึ่งเรียนจบมาคะ ทำงานได้ 1 ปี เข้าปีที่ 2 แล้ว เรียบจบก็ได้งานทำเลย ช่วงนี้หนูมีปัญหาเกี่ยวกับตัวเอง คิดมากคะ คิดมากจนปวดหัว สูบบุหรี่จัด ร้องไห้บ่อย บางทีนั่งๆอยู่คิดอะไรขึ้นมาได้ก็ร้อง ช่วงนี้งานน้อยๆ เพราะเป็นช่วงหน้าโลว์ งานไม่เยอะ แต่ไม่รู้ทำไมชอบคิดว่าที่ไม่ได้งาน เพราะหัวหน้าไม่ไว้ใจหรือไม่หล้าให้ทำ ทั้งๆที่ตัวเองก็รู้เหตุผลว่าทำไม แต่อาจเป็นเพราะหนูเป็นคนคิดมาก (หนูอยู่บริษัททัวร์รัสเซีย แผนกสัญญาโรงแรม) เครียดเรื่องการเงินด้วยคะ ภาระค่อยข้างเยอะ หมออย่าพึ่งงงนะคะว่าหนูพึ่งจบมาภาระเยอะได้อย่างไร หนูอยู่กับแม่และพ่อเลี้ยงต่างชาติตั้งแต่เด็ก (แม่ทำงานบริษัทต่างชาติ) เรามีเงินใช้ตลอด จนมาวันหนึ่ง ชีวิตเราเปลี่ยนไป ธุรกิจล่ม ต้องประหยัด จากที่ต้องเรียนโดยไม่ได้กู้ต้องมากูู้เรียน แต่พยายามปรับตัวคะ ไม่คิดอะไร พยายามไม่คิดถึงจุดเก่า เอาข้างหน้าก็พอ พ่อเลี้ยงเค้าส่งเงินมาให้แม่กับน้องใช้ปกติคะ แต่ตัวหนูทำงานได้แล้วเรยไม่ได้เรียกร้องอะไร ส่วนพ่อแท้ๆ เค้าเคยดูแลคะ แต่พอเราไม่สนใจ เค้าใช้คำหยาบในการด่าค่ะ อาทิ กะหรี่, สัตว์นรก อกตัญญู (ขอโทษที่ใช้คำหยาบคะ) แต่เราไม่เคยโกรธนะคะ สุดท้ายแกก็มาขอโทษ แต่แล้ววันนึงเค้าก็ผลานเงินจนหมด แล้วจะกลับมาเรียกร้องกลับลูกๆ อยากให้ลูกชดใช้บุญคุณพ่อ เราก็ได้ให้แค่กำลังใจคะ แต่ครอบครัวเรามันคนละทางแล้วคะ กลับมาไม่ได้แล้วคะ เค้าเอารถไปจำนำ เอาทองไปขาย เอารถมาให้เรา แล้วบอกว่าว่าให้คะ ทั้งๆที่แกแอบเอาไปเข้าไฟแน้นซ์แต่ไม่บอก สุดท้ายหนูก็ต้องรับในสิ่งนี้คะ เพราะคิดว่าช่วยอะไรได้ก็ช่วยคะ แต่เค้าไม่เข้าใจตรงจุดนี้ มันทำให้ตัวเราเกลียดเค้าคะ ไม่อยากคุย ไม่อยากมองหน้า เหมือนมันสะสมมานาน เคยด่าเค้านะคะ  เพราะเป็นคนโมโหร้ายมาก เคยทำลายข้าวของตอนเรียนหนังสือ ทะเลาะกับแม่คะ มีปัญหาทะเลาะกับอาจารย์ ด่ากับอาจารย์ แต่ก็มีเพื่อนนะคะ เป็นกลุ่มเพื่อนที่รักกันคะตอนสมัยเรียนม.ปลาย ไม่เอาใครคะ เอาแต่เพื่อน แต่พอเราทำงาน เราพยายามปรับเปลี่ยนหลายอย่าง มีแต่เพื่อนที่โตกว่า คุยกันเข้าใจ ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายคะ พี่ๆเค้าก็ทำงานแต่งงานกันหมดภรรยาพี่ๆก็ชอบเรานะคะ เพราะเวลาออกข้างนอกชอบเฮฮา ทุกคนชอบเราคะ ไม่เคยเศร้าให้ใครเห็น เวลามีปัญหาไม่เคยบอกให้ใครทราบคะ ชอบเก็บไว้ ร้องไห้คนเดียว เครียดคนเดียว จนเคยเอามีดกรีดข้อมือตัวเองคะ ชอบกำมือจนเลือดออก  หนูเป็นคนที่บางคนดูว่าเราก้าวร้าว แต่ในใจอ่อนแอมากคะ ไม่ค่อยมีใครเข้าใจ จนต้องทำให้ตัวเองดูเข้มแข็ง ไม่ชอบร้องให้ใครเห็น แต่คนไหนที่เราเชื่อใจ เราชอบร้องออกมาคะ แม่หนูดีมากคะ ไม่เคยโกรธ ไม่เคยว่า ไม่เคยทำร้ายคะ ให้กำลังใจตลอด มีแต่เราทำร้ายจิตใจแก แต่ตอนนี้เริ่มคิดได้คะ เรื่องครอบครัวหนูโอเคแล้วคะ เพราะหนูมีแม่ที่รักหนูคะ แกไม่เคยทิ้ง แกเลี้ยงแบบปล่อยคะ แบบฝรั่ง อยากทำอะไรทำ มีอะไรบอก หาข้าวกินเอง ตั้งเงินไว้ให้ แล้วให้เราไปหาซื้อกินเอง ตั้งแต่เด็กคะ แม่ไม่เคยก้าวก่ายเรื่องส่วนตัว งานกิจกรรมโรงเรียนแม่ไม่เคยไปคะ และหนูก็ไม่ร่วมด้วยคะ วันสำคัญอะไร หนูก็ไม่ร่วมคะ เพราะดูว่าไร้สาระ สูบบหรี่แม่ก็ทราบคะ เพราะสูบกับแกบ่อย แกห้ามคะ แต่พ่อเลี้ยงบอกว่าห้ามไม่ได้ เพราะเรา 2 คนก็ทำ ตอนนี้หนูงงกับตัวเองมากคะว่าเป็นอะไร ทำไมต้องคิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่า กลัวเป็นภาระคนอื่น ทั้งๆที่คนอื่นเค้าไม่เคยคิดแบบนี้เรย หนูนั่งพิทหาคุณหมอ หนูยังร้องไห้เรยคะ ขอบคุณที่เสียสละเวลาอ่านนะคะ

     สวัสดีคะคุณ MMKK14

    ปัญหาที่เกิดขึ้นกับคุณเกิดจากตั้งแต่วัยเด็ก ที่อาจจะมีการสะสมของปัญหามาเรื่อยๆ โดยที่ตัวเองไม่รู้ และยังไม่เข้าใจว่าตัวเองมีปัญหามาตั้งแต่เด็กค่ะ สิ่งที่เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต อาจจะเป็นเงาที่ตามตัวอยู่โดยที่คุณไม่เคยที่จะเข้าใจมันเลยค่ะ 

    มาดูสิค่ะ ว่าปัญหาอะไรบ้างที่ประวัติของคุณบอกหมอนะค่ะ

    • ปัญหาสับสนในการใช้ชีวิตในอดีต คือ มีปัญหาเรื่องครอบครัวที่ไม่อบอุ่น และมีการถูกทำร้ายทางจิตใจจากคุณพ่อ
    • ปัญหาเรื่องเศรษฐานะเนื่องจากคุณพ่อเป็นคนสร้างให้ ทำให้มีความกังวลในการที่ต้องมารับผิดชอบ ไม่สามารถมีความเป็นอิสระได้ นอกจากนี้คุณยังต้องมีภาระในเรื่องของค่าใช้จ่ายของตัวเองอีกด้วย
    • ภาวะการติดบุหรี่ ซึ่งมักจะเกิดจากการที่คุณไม่สามารถหาทางออกได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในขบวนการของคนที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพจิตที่จะติดสารเสพติดอย่างใดอย่างหนึ่งค่ะ เช่น อาจจะติดเหล้า ติดบุหรี่ ได้ค่ะ
    • การงานที่อาจจะมีปัญหาในการทำงานโดยที่คุณไม่แน่ใจว่าคืออะไรค่ะ เนื่องจากงานที่ต้องทำเป็นงานที่มีความรับผิดชอบทำให้เกิดปัญหาภาวะเครียดจากการทำงานโดยไม่รู้ตัวค่ะ 
    • มีปัญหาแยกตัวออกจากคนอื่น 
    • มีปัญหาเรื่องการทำร้ายตัวเอง
    • แต่ตอนนี้ยังสามารถที่จะปรับตัวเข้ากับสังคมได้ด้วยการสวมหน้ากาก ว่าตัวเองมีความสุข
    • ตอนนี้อาจจะมีปัญหาอีกเรื่องคืออาจจะต้องระวังเรื่องความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานด้วยนะค่ะ 

    สิ่งที่หมอพยายามจะแยกให้เห็นเป็นประเด็นที่ต้องพยายามที่จะต้องมองเพื่อให้แก้ไขเป็นเรื่องๆ ค่ะ ดังนั้นตอนนี้ที่สำคัญที่สุดคือ ปัญหาที่คุณมีความพยายามทำร้ายตัวเอง หรือ ฆ่าตัวตาย หมอคิดว่าคุณควรที่จะไปปรีกษาจิตแพทย์ก่อนนะค่ะ เพราะการที่เก็บความเครียดไว้นานๆ จะทำให้มีปัญหาโรคซึมเศร้าได้ค่ะ 

    ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ( depression หรือ Major depressive disorder ) โรคซึมเศร้าเป็นสภาวะทางจิตที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลา 2 อาทิตย์ ผู้ป่วยมักจะมีปัญหาขาดความมั่นใจ ขาดความสนใจในกิจกรรมที่เคยสนใจมาก่อน รู้สึกเหนื่อยอ่อนเพลีย และบางครั้งมีภาวะเจ็บปวดที่หาสาเหตุไม่ได้ บางครั้งคุณอาจมีภาวะเชื่อในสิ่งที่ผิด และ ได้ยินหรือเห็นสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น ภาวะซึมเศร้าอาจเกิดขึ้นในได้คนปกติ ภาวะซึมเศร้าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย ดังนั้นหมอขอยืนยันว่าคุณควรไปพบจิตแพทย์ทันที

    อย่างที่กล่าวมาข้างต้นโรคซึมเศร้าเป็น สภาวะจิตใจที่เปลี่ยนแปลงไป แต่อย่างอย่างไรก็ตาม สภาวะนั้นจะต้องเป็นต่อเนื่องอย่างน้อย 2 อาทิตย์ แพทย์ถึงจะพินิจฉัยว่าคุณมีปัญหาเรื่องภาวะซึมเศร้า เพราะนอกจากนี้ยังมีสภาวะที่ทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกเปลี่ยนในช่วงระยะเวลาอันสั้น หรือ เกิดเป็นช่วงเวลา เช่น seasonal affective disorder ซึ่งเป็นสภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล มักเกิดในกลุ่มประเทศเขตหนาว ที่มีระยะเวลากลางวันสั้นลงในฤดูหนาว กลางคืนยาวขึ้นซึ่งในคนไข้กลุ่มนี้สามารถที่ช่วยได้ด้วยการนั่งในห้องที่ใช้แสงไฟพิเศษ ประมาณ 15-20 นาทีต่อวัน

    นอกจากนี้คุณควรจะสังเกตว่าก่อนที่อาการซึมเศร้าจะเกิดขึ้นกับคุณ มีเหตุการณ์อะไรเปลี่ยนแปลงขึ้นในชีวิตของคุณ ทั้งเหตุการณ์ที่คุณคิดว่าอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะซึมเศร้าขึ้นหรือไม่ก็ได้ ให้พยายามรวบรวมความคิดเหล่านั้นไว้ด้วย และอีกอย่างที่สำคัญที่จะลืมเสียมิได้คือ คุณมีการใช้สารหรือยาบางอย่างที่ทำให้คุณมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วยหรือไม่

    จุดมุ่งหมายหลักในการรักษาคนไข้กลุ่มนี้ มีดังต่อไปนี้

    การป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยมีสภาวะซึมเศร้า

    การป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยสูญเสียความรู้สึกสนใจและพอใจที่อยากจะทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

    การป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียความอยากอาหารและมีปัญหาเรื่องน้ำหนักที่ผิดปกติไป

    การป้องกันไม่ให้มีการนอนหลับมากเกินไป

    การป้องกันเพื่อไม่ให้มีความรู้สึกหงุดหงิด

    การป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะเหนื่อยอ่อนเพลียและรู้สึกล้าตลอดเวลา

    การป้องกันไม่ได้ผู้ป่วยคิดว่าตัวเองมีปมด้อย หรือรู้สึกผิด

    การป้องกันให้ผู้ป่วยสามารถมีกำลังใจในการคิดและพยายามคิดและตัดสินใจในทางที่ถูกต้อง

    การป้องกันไม่ให้เกิดความคิดที่จะฆ่าตัวตาย

     

    ดังที่หมอได้กล่าวมาข้างต้น ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นกับคุณ ต้องได้รับการพบจิตแพทย์ทันที เพื่อประเมินสภาวะทางจิตใจ และให้สามารถได้รับการพินิจฉัยที่ถูกต้อง เพื่อนำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพ เช่น การรักษาด้วยยาต้านภาวะซึมเศร้า และการเข้ากลุ่มบำบัดอย่างที่หมอกล่าวมาข้างต้น