ถามแพทย์

  • ฟันคุต

  •  niiii
    สมาชิก
    ผ่าฟันคุต คือฟันคุตที่ยังไม่โผล่ออกมาจากเหงือกใช่ไหมคะ ถอนฟันคุต คือฟันคุตที่โผล่ออกมาจากเหงือกแล้วใช่ไหมคะ อยากถามหมอว่าหนูเข้าใจถูกมั้ยค่ะ ระหว่างผ่าฟันคุตกับถอนฟันคุต

                    ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ อาจจะโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ โดยฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้ายโดยปกติแล้วฟันซี่นี้ควรจะขึ้นในช่วงอายุ 18-25 ปี นอกจากนี้ฟันซี่อื่นๆ ก็อาจจะคุดได้ เช่น ฟันกรามน้อย ฟันเขี้ยว แต่พบได้น้อยกว่ามาก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากขนาดของกรามไม่สัมพันธ์กับขนาดของฟัน

                    หากตรวจช่องปาก แล้วพบว่ามีฟันซี่ใดโผล่ขึ้นมาเป็นบางส่วน หรือฟันซี่ใดหายไป ก็ให้สงสัยว่าเป็นฟันคุด ซึ่งหากเป็นกรณีที่มองไม่เห็นฟันโผล่พ้นเหงือก ต้องอาศัยการเอ๊กซเรย์ช่องปาก

                     อาการส่วนใหญ่ของฟันคุด คือ ปวดบวมบริเวณเหงือก บางคนอาจมีอาการบวมบริเวณคาง ซึ่งจำเป็นต้องรักษา

                    การรักษาก็คือต้องผ่าเอาฟันคุดออก (impact tooth extraction) โดยหากฟันคุดโผล่พ้นเหงือกออกมามาก ส่วนใหญ่เพียงแค่ลงมีดผ่าเหงือกเล็กน้อยก็สามารถดึงเอาฟันคุดออกมาได้ แต่หากฟันคุดโผล่ออกมาเล็กน้อย หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งหมด นอกจากการลงมีดผ่าเหงือกแล้ว ต้องมีการกรอกระดูกขากรรไกร และกรอเอาตัวฟันออกมา

                   ดังนั้นส่วนใหญ่การรักษาฟันคุด จึงไม่การดึงหรือถอนตัวฟันออกมาเฉยๆ ต้องมีการลงมีดผ่าเหงือกร่วมด้วย รวมถึงการกรอกระดูกขากรรไกรและฟันค่ะ แม้แต่ในบางกรณีที่ทันตแพทย์เห็นว่า น่าจะแค่ถอนธรรมดาแต่ แต่ในขณะถอน เกิดรากฟันหัก หรือถอนไม่ออก ก็ต้องลงมีด กรอฟัน กรอกระดูกต่อค่ะ การเห็นฟันคุดโผล่พ้นเหงือกหรือไม่ จึงไม่ใช่เป็นการตัดสินว่าจะสามารถแค่ดึงหรือถอนเอาฟันออกมาตรงๆ ได้ค่ะ ดังนั้นการใช้คำพูดว่า           "ผ่าฟันคุด" จึงน่าจะเหมาะสมกับการรักษาฟันคุดโดยส่วนใหญ่ค่ะ