ถามแพทย์

  • อายุ 15 ปี ปวดท้องหลังทานอาหารมามากกว่า 1 ปี หากินยาคูลท์ จะช่วยบรรเทาได้ อันตรายไหม

  •  Amaz12
    สมาชิก
    ผมปวดท้องหลังทานอาหารมานานมากเเล้ว เเต่ก็ไม่ได้เป็นทุกครั้งเเต่เป็นบ่อยมาก จะปวดบริเวณลำไส้ครับ ผมมั้ย ยาคูลท์ เวลาปวดมากๆ มันช่วยบรรเทาได้มากเลย อย่างนี้อันตรายมากไหมครับเป็นมา มากกว่า 1ปีเเล้ว อายุ15

    สวัสดีค่ะ คุณ Amaz12,

                      อาการปวดท้องหลังทานอาหาร อาจเกิดจาก 

                     1.โรคกระเพาะอาหารอักเสบ  ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดบริเวณท้องส่วนบน อาจเป็นบริเวณลิ้นปี่ลงไปถึงเหนือสะดือหรือปวดค่อนไปทางด้านซ้าย อาจปวดแบบจุกแน่น หรือแสบร้อน และปวดร้าวทะลุไปหลังได้ นอกจากนี้อาจมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย อิ่มเร็ว เรอบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น

                  2. นิ่วในถุงน้ำดี พบได้น้อยมากในเด็ก แต่ก็สามารถเจอได้ อาการคือจะทำให้เกิดอาการปวดท้องบริเวณช่องท้องส่วนบนหรือด้านขวา อาการจะเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน ปวดนานแต่ละครั้งอย่างน้อย 30 นาทีถึงหลายๆชั่วโมง และมักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย อาการปวดมักเกิดขึ้นหลังจากทานอาหารมื้อหนัก หรืออาหารที่มีไขมันสูง นอกจากนี้อาจมีอาการอื่นๆ เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ และอาจมีจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ด้วย 

                   3. ลำไส้แปรปรวน จะทำให้มีอาการไม่สบายท้อง แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในท้องมาก ปวดท้องมากหลังรับประทานอาหาร และอาการจะดีขึ้นหลังการขับถ่าย มีท้องผูก หรือท้องเสีย หรือท้องผูกสลับกับท้องเสีย อุจจาระ อุจจาระไม่สุด อุจจาระมีเมือกใสหรือสีขาวปนออกมา อั้นอุจจาระไม่อยู่ เป็นต้น 

                    4. ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน แต่จะมีอาการปวดท้องบริเวณท้องส่วนบนรุนแรง และมักปวดร้าวไปที่หลัง อาการปวดมักจะมากขึ้นเมื่อทานอาหาร ท้องอืด แน่นท้อง มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีตัวเหลือง ตาเหลือง เกิดภาวะขาดน้ำ เช่น ผิวแห้ง กระหายน้ำ หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น 

                    หากอาการปวดเป็นมามากกว่า 1 ปีแล้ว แนะนำควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาค่ะ 

                    ในเบื้องต้น ควรปฏิบัติตัวเพื่อช่วยลดอาการที่อาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ข้างต้น ได้แก่ การพยายามทานอาหารให้ตรงเวลา เลือกทานอาหารที่ย่อยง่าย ไม่ทานเนื้อสัตว์ที่ชิ้นใหญ่ไป ไม่ทานอาหารในปริมารมากไปในแต่ละมื้อ ไม่ทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอดต่างๆ อาหารผัด ไม่ทานอาหารรสจัด ไม่ทานเผ็ด ควรเคี้ยวช้าๆ ให้ละเอียด ไม่ทานและกลืนเร็ว ไม่ทานอาหารครั้งละปริมาณมากเกินไป ไม่ดื่มน้ำอัดลม อัดแก๊สต่างๆ รวมถึงชา กาแฟ โกโก้ แอลกอฮอล์ ห้ามทานยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs เช่น แก้ปวดเมื่อย ปวดข้อ  เป็นต้น 

                     สำหรับยาคูลท์ ซึ่งเป็นนมเปรี้ยว หากทานแล้วดีขึ้น ก็สามารถทานได้ แต่ไม่ควรทานปริมาณมากไป เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลที่สูง อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อตามมาได้ค่ะ