ถามแพทย์

  • ปวดกระดูก มีอาการเจ็บข้อเท้า เจ็บข้อพับด้านหลัง นั่งยองๆไม่ได้ อยากทราบสาเหตุ

  •  Boonthiya
    สมาชิก

    ปัจจุปันอายุ 47 ปี เพศหญิง

    ประวัติการป่วยและการรักษา ครั้งแรกเป็นเมื่ออาย 24 ปี  ตอนไปเล่นกีฬาวอลเลย์บอลภายโรงงาน รับลกบอลแล้วปวดแขนอักเสบบวมตรงข้อมือทั้งสองข้าง  หลังจากนั้นก็ปวดๆหายๆที่ข้อมือมาตลอด ไปหาหมด หมอวินิจฉัย ว่าเป็นไขข้ออักเสบ มีอาการปวดข้อมือมาตลอดทุกวัน ทานยาไดโคฟิเนคทุกวัน ก่อนนอน 1 มื้อ อาการเริ่มดีขึ้นเมื่ออาย 30 ปีกว่า และเล่นแบตมินตัน จนอาย 35 ปี มีอาการเจ็บ ข้อศอกด้านขวา และเหยียดได้ไม่สุด ไปพบหมอที่รพ. รามาธิบดีหมอวินิจฉัยเป็น Tennis Elbow รักษาโดยการทานยาแก้ปวด และยา คลายกล้ามเนื้อได้แค่บรรเทาอาการและปวดน้อยลง (ไมได้หายปวดไปเลย) มีกายภาพ ฝังเข็ม (ฝังเข็มลดปวดได้แต่ข้อยังติด)  และข้อมือกลับมาปวด ติดขัด จนตอนนี้ข้อมือและข้อศอกขวาติด ไม่สามารถงอและเหยียดได้เป็นมาเกือบ 10 ปีแล้วค่ะ  และลามมาเป็นด้านซ้ายข้อมือติด กระดกได้ไม่สุด พับข้อมือ หรือท้าวแขนไม่ได้เลย

     

    ตรวจเลือดและสุขภาพทุกปี สุขภาพแข็งแรง ไม่มีกรดยรูิค เลือดจางนิดหน่อย เมื่อเดือนตลาคม ปี 2559 ตรวจกับแพทย์ด้านอายรกรรม  เจาะเลือดดู SLE  รูมาตอยด์ เก๊าท์ ไม่พบ หมอสันนิฐาน แพ้ภูมิตัวเองประเภททำลายกระดูก แต่เอ็กซเรย์ แล้วกระดูกปรกติ ได้รับยากดภูมิมาทาน (แต่ไม่ได้ทาน เนื่องจากยามีผลข้างเคียงเยอะมาก) ทกวันนี้ทานยาแก้ปวดกับคลายกล้ามเนื้อ (ที่หมอจ่ายให้พอหมดก็ไปซื้อมาทานเอง  ) โดยทานหลังอาหารทันที และทานเพียงวนละ 1 มื้อ  ออกกำลังกายโดยการแอโรบิคมาตลอด เริ่มวิ่งมาราธอน เมื่อปี 2557 เวลาปวดไม่เคยมีอาการไข้  ไม่เคยเป็นหวัดมานานกว่า 5 ปี แต่ตอนนี้มีอาการเจ็บข้อเท้า เจ็บข้อพับด้านหลัง นั่งยองๆไม่ได้ (ประมาณ 6 เดือน) และเมื่อเดือน ตุลาคม 2559มีอาการปวดต้นคอเหมือนคนนอนตกหมอน หันคอไม่ได้ มีอาการเจ็บที่ต้นแขนทั้งสองข้าง และปวดทุกคืนทำให้นอนไม่ค่อยหลับ นิ้วกลางที่สองข้างเหยียดไม่ได้สุด

    สวัสดีค่ะ คุณ Boonthiya 

    อาการปวดกระดูก (ที่ไม่ใช่การปวดที่บริเวณข้อ) สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ การบาดเจ็บ, การขาดวิตามินดี, โรคกระดูกพรุนจนมีการหักหรือทรุด, เนื้องอกกระดูก, มะเร็งที่ลุกลามมาที่กระดูก, การติดเชื้อที่กระดูก เป็นต้น

    แต่หากอาการปวดเป็นการปวดบริเวณข้อ หรือเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อ จะมีสาเหตุที่นึกถึงเป็นสาเหตุอื่นๆอีกนะคะ

    ดังนั้น แนะนำให้คุณ Boonthiya ไปพบแพทย์ผู้รักษาเพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างต่อเนื่องนะคะ