ถามแพทย์

  • มีอาการชา เหมือนไฟช็อต ไม่มีน้ำลายไหล ผมฉีดยาครั้งสุดท้ายวันที่ยี่สิบสอง พค ครับ เป็นอาการของพิษสุนัขบ้าไหมครับ

  •  dfsdsd
    สมาชิก

    คุณหมอครับพอดีผมมีอาการ เหมือนโดนช๊อตตามแขนขา แล้วมีอาการชา บ้างทีจะชา ตรงนิ้วทีโดนฟันหมา แล้วมีก้อนใต้ค้าง แล้วมีอาการปวดฟันแล้วมีเหงือกตรงฟันคุ แล้วมีนํ้าลายอยู่ในปากตลอดเวลา ไม่ทราบว่านํ้าลาย อยู่ตลอดเวลานี่ปกติปะครับ ผมก็ชอบกลืนด้วย แล้วมีอาการเร่อบอย แล้ว ผมจะรู้สึกเหนื่อย ไม่ทราบว่า เกียวกับการ เครียด นอนน้อย โรคแพนิคกับโรควิตกกังวลป่าวเพราะ ผมเป็นมานานแล้ว แล้วผมจะตัวร้อนเป็นๆหายๆ ผมก็ไปฉีดวัคซีน 3รอบแล้วครับผ่านมา22วันแล้วหมายังปกติ หมามันไม่ได้กัด แต่มันอาปากอยู่ ผมเอานิ้วสะบัดไปโดนเองครับ 

    สวัสดีะคุณ dfsdsd

    หลักการในการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า มีดังนี้ค่ะ 

    ถ้าเคยฉีด มาก่อนแล้ว สามเข็ม ให้ฉีดกระตุ้น หนึ่งเข็มไม่เกิน หกเดือน เกินหกเดือนฉีดสองเข็ม ไม่มีความจำเป็นต้องฉีด RIG  ไม่ต้องฉีดเลยค่ะ ห้ามฉีด

    ถ้าไม่เคยฉีดมาก่อนแนะนำฉีด ดังนี้

    การฉีดเข้ากล้าม 0.5 cc 5 เข็ม ตามวันนัด

    การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 0.1 cc 2 เข็ม ทั้งหมด 4 ครั้ง เท่ากับ 8 เข็ม 

    การฉีด RIG มีความจำเป็นถ้า แผลมีเลือดออก ถูกกัดที่หน้า มือ เท้า หรือ บริเวณที่มีเส้นเลือดมาก ฉีดตามน้ำหนักตัวค่ะ 

    ไม่มีความจำเป็นต้องเริ่มใหม่ค่ะ ให้ไปฉีดเข็มสุดท้ายทันทีทีี่นึกได้ค่ะ เพราะปรกติ สำคัญที่สามเข็มแรกค่ะ 

    อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ

    1. ระยะอาการนำของโรค (Prodrome) ผู้ป่วยจะมีอาการต่าง ๆ ที่ไม่จำเพาะ เช่น มีไข้ต่ำ ๆ ประมาณ 38-38.5 องศาเซลเซียส หนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน อาจมีอาการกระสับกระส่าย ลุกลี้ลุกลน วิตกกังวล มีความรู้สึกกลัว นอนไม่หลับ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย และอาการจำเพาะที่แพทย์สามารถใช้ในการวินิจฉัยโรคนี้ได้ คือ บริเวณบาดแผลที่ถูกกัดอาจมีอาการปวดเสียว คัน ชา เย็น หรือปวดแสบปวดร้อน (โดยที่แผลอาจจะหายสนิทแล้วก็ได้) โดยจะเริ่มจากบริเวณบาดแผลก่อนแล้วจึงลามไปทั่วทั้งแขนและขา
    2. ระยะปรากฏอาการทางระบบประสาท (Acute neurologic) เป็นอาการเฉพาะของโรคนี้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นภายหลังระยะอาการนำของโรคประมาณ 2-10 วัน ซึ่งในระยะนี้จะแบ่งอาการออกเป็น 3 แบบ ได้แก่
      • แบบคลุ้มคลั่ง (Furious rabies) ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุดประมาณ 80% ของผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าทั้งหมด ในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยอาจมีเพียงอาการไข้ สับสน เห็นภาพหลอน กระวนกระวาย ซึ่งจะเกิดบ่อยเมื่อถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า เช่น แสง เสียง เป็นต้น ต่อมาจะมีการแกว่งของระดับความรู้สึกตัว คือ เดี๋ยวดี เดี๋ยวไม่ดีสลับกันไป ซึ่งในขณะที่ความรู้สึกตัวดี ผู้ป่วยจะพูดคุยตอบโต้ได้เป็นปกติ แต่ในขณะที่ความรู้สึกตัวไม่ดี ผู้ป่วยจะมีอาการกระวนกระวาย ผุดลุกผุดนั่ง เดินเพ่นพ่าน อยู่นิ่งไม่ได้ คลุ้มคลั่ง เอะอะอาละวาด ต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการกลัวน้ำ (Hydrophobia; ตอนดื่มน้ำจะปวดเกร็งกล้ามเนื้อคอหอยทำให้กลืนไม่ได้ แล้วไม่กล้าดื่มน้ำทั้ง ๆ ที่กระหายน้ำมาก หรือบางรายแม้แต่จะกล่าวถึงน้ำก็กลัวแล้ว) กลัวลม(Aerophobia; เพียงแค่เป่าลมเข้าที่หน้าหรือคอก็จะมีอาการผวา เมื่อผู้ป่วยหายใจเข้าหรือมีลมมากระทบหน้า กระทบกล้ามเนื้อกะบังลม และกล้ามเนื้อของกล่องเสียง ก็จะทำให้เกิดการแข็งเกร็งหดตัวผิดปกติและก่อให้เกิดความเจ็บปวด ทำให้ไม่อยากหายใจเข้า ดูคล้ายคนกำลังสำลักอากาศ) ซึ่งจะพบได้เกือบทุกราย แต่ไม่จำเป็นต้องพบร่วมกันทั้งสองอาการก็ได้ และอาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อผู้ป่วยเริ่มเข้าสู่ระยะไม่รู้สึกตัว นอกจากนี้ ยังพบอาการถอนหายใจเป็นพัก ๆ (มักพบในระยะหลังของโรค) และอาการผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น น้ำลายไหล น้ำตาไหล เหงื่อออกมาก ขนลุก และในผู้ชายอาจมีอาการแข็งตัวของอวัยวะเพศและหลั่งน้ำอสุจิบ่อย ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยไม่ตั้งใจ และในที่สุดผู้ป่วยจะเกิดอาการซึม หมดสติ หยุดหายใจ และเสียชีวิตภายใน 7 วัน (โดยเฉลี่ยคือ 5 วัน) หลังจากเริ่มแสดงอาการ
      • แบบอัมพาต (Paralytic rabies) ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบได้รองลงมาประมาณ 20% ผู้ป่วยมักมีอาการไข้ร่วมกับกล้ามเนื้อแขนขาและทั่วร่างกายอ่อนแรง มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ พบอาการกลัวน้ำและกลัวลมประมาณ 50% ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะเสียชีวิตช้ากว่าแบบคลุ้มคลั่ง คือ เฉลี่ยประมาณ 13 วัน (ในบางครั้งผู้ป่วยกลุ่มนี้แพทย์อาจแยกจากกลุ่มอาการกิลเลนบาร์เร (Guillain-Barré syndrome) ได้ยาก)
      • แบบแสดงอาการไม่ตรงต้นแบบ (Non-classic) ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยบางราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ถูกค้างคาวกัด ในระยะแรกผู้ป่วยอาจมีอาการปวดประสาทหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง ต่อมาจะมีอาการแขนขาซีกหนึ่งเป็นอัมพาตหรือชา มีอาการชักและการเคลื่อนไหวผิดปกติ แต่มักไม่พบอาการกลัวน้ำ กลัวลม และอาการผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติดังผู้ป่วยแบบคลุ้มคลั่ง
      • ระยะไม่รู้สึกตัว หรือ ระยะสุดท้าย (Coma) ผู้ป่วยทุกรายไม่ว่าจะมีอาการแสดงแบบใดเมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายนี้จะมีอาการหมดสติและเสียชีวิตจากระบบหายใจและไหลเวียนโลหิตล้มเหลว รวมทั้งหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภายใน 1-3 วันหลังมีอาการไม่รู้สึกตัว ถ้าผู้ป่วยมาโรงพยาบาลในระยะนี้แพทย์อาจวินิจฉัยโรคได้ยาก เพราะอาจเข้าใจผิดคิดว่าเกิดจากโรคสมองอักเสบจากสาเหตุอื่นได้
    dfsdsd  dfsdsd
    สมาชิก

    แล้วอาการผมคล้ายไหมครับหมอ