ถามแพทย์

  • ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าพร้อมฉีดกระตุ้น หากสัตว์เลี้ยงมาสัมผัสผิวหนังที่ลอก ต้องฉีดอีกไหม?

  •  Tharin
    สมาชิก

    สวัสดีครับ ผมเคยฉีดวัคซีนกันพิษสุนัขบ้าไปแล้วจนครบ ต่อมาเมื่อต้นเดืิอนธันวาโดนฉีดกระตุ้นไป 2 เข็ม ผ่านไป 17 วัน หากโดนแมวเขี่ยนแต่ไม่มีเลือดออก หรือน้ำลายสุนัข หรือโดนข่วน โดนเลียแผล โดนตรงแผลที่เกิดจากการลอกหรือคันของผิว (แผลแดงๆเกิดจากการลอกของผิวในหน้าหนาว) แบบนี้ผมต้องไปฉีดกระตุ้นไหมครับ


     


    และขอถามอีกหน่อยว่า หากเลยช่วงไหนไปแล้วควรฉีดกระตุ้นครับ


     


    ขอบพระคุณมากๆครับ

    สวัสดีค่ะ คุณ Thada   @การดูแลรักษาผู้ที่ถูกสัตว์ประเภทสุนัขหรือแมวทำร้าย จะประกอบด้วย   ·         ปฐมพยาบาลบาดแผลโดยทันที :ล้างแผลด้วยน้ำฟอกสบู่หลายๆครั้ง ล้างสบู่ออกให้หมด ถ้าแผลลึกให้ล้างจนถึงก้นแผลอย่างน้อย 15 นาที ระวังอย่าให้แผลช้ำ หลังจากนั้นให้เช็ดแผล ควรใช้ยาโพวีโดนไอโอดีนหรือ ฮิบิเทนในน้ำ ถ้าไม่มีให้ใช้แอลกอฮอล์ 70% หรือทิงเจอร์ไอโอดีน   ·         การป้องกันโรคบาดทะยัก :โดยแพทย์จะ พิจารณาให้ตามประวัติการรับวัคซีนบาดทะยัก   ·         การรักษาตามอาการ : ยาแก้ปวดต่างๆตามความจำเป็น   ·         การรับวัคซีนและอิมมูโนโกลบูลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า   การประเมินความเสี่ยงของติดเชื้อพิษสุนัขบ้าเบื้องต้น จะประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ   1.       ประวัติการสัมผัส โดยหากผิวหนังผู้สัมผัสมีแผลหรือรอยถลอก แนะนำให้ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า ซึ่งแพทย์จะพิจารณาว่า จะเป็นการฉีดกระตุ้นหรือฉีดให้ครบทั้งคอร์ส   2.       ประวัติสัตว์ที่สัมผัส โดยสัตว์ที่สัมผัสเป็นสุนัขและแมวที่ได้รับการฉีดโรคพิษสุนัขบ้าประจำโดยครั้งสุดท้ายโดยสัตว์นั้นได้รับวัคซีนไม่เกิน 1 ปี ประกอบกับเหตุในการถูกกัดหรือข่วนมีเหตุโน้มน้าวชัดเจน เช่น การทำร้าย การแกล้งสัตว์ เข้าใกล้สัตว์ที่หวงอาหาร หรือลูกอ่อน ยังไม่จำเป็นต้องได้รับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าแต่ควรกักขังสัตว์เพื่อดูอาการอย่างน้อย 10 วัน หากมีอาการผิดปกติให้รีบฉีดวัคซีน อีกกรณีคือ สุนัขหรือแมวที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี อยู่ในระบบปิดไม่ได้สัมผัสสัตว์อื่น กรณีนี้ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า       @ดังนั้นจึงแนะนำให้คุณ Thada ดังนี้ค่ะ หากแมวหรือสุนัขเป็นสัตว์ที่เคยได้รับวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า ร่วมกับมีเหตุจูงใจในการข่วนและสามารถเฝ้าสังเกตแมวหรือสุนัขตัวนี้ได้ ให้เฝ้าสังเกตสัตว์ให้ครบ 10วัน แต่หากเฝ้าดูอาการแมวหรือสุนัขไม่ได้ และไม่มีเหตุจูงใจให้ทำร้าย  ควรไปพบแพทย์เพื่อพิจารณาการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าค่ะ โดยหากเพิ่งรับวัคซีนครบมาไม่เกิน 6เดือน แพทย์อาจให้ฉีดกระตุ้น 1เข็มค่ะ