ถามแพทย์

  • เคยเป็นประจำเดือนมาเยอะมาก ใช้ยาปรับฮอร์โมนหาย ครั้งนี้เป็นอีก กินยาปรับฮอร์โมนแล้วประจำเดือนไม่มา

  •  676767
    สมาชิก
    สวัสดีคะ คือหนูเคยเป็นประจำเดือนมาเยอะมากใหลไม่หยุดเป็นเดือนตอนที่เริ่มเป็นประจำเดือนแรกๆ เลยไปพบแพทเฉพาะทางเขาก็ให้ยาปรับฮอร์โมนมากินจนหายคะ แต่พอช่วงเข้ามหาลัยก็กลับมาเป็นเหมือนเดิมอีก เลยกลับไปหาหมอคนเดิมเขาก็ลองอัลตาซาวดู เขาบอกยังมีเลือดอยู่ที่มดลูกเพราะมันใหลมาไม่หมด อาจที่มดลูดเราหนามันยังไม่ชัดเจน เพราะเลือดที่อยู่ในมดลูกบังอยู่มองไม่ชัด เขาก็ให้ยาปรับฮอโมนมากินจนหายไปซักพักนึง ก็กลับมาเป็นอีกหนุเลยไปหาหมออีกคลิคลินิกไม่ใช้แพทเฉพาะทางเป็นหมอตรสจโรคทั่วไป ก็ให้ยาปรับฮอโมนมากินติดต่อกันสามเดือน ประจำเดือนก็มาปกติยุซักสองเดือน เดือนต่อมาประจำเดือนไม่มาแต่เป็นตกขาวสีน้ำตาลใหลยุสองสามวันก็หาย มาอีกเดือนประจำเดือนก็ไม่มาอีก จนเข้าต้นเดือนที่สามก็ยังไม่มาอีก รวมๆคือประจำเดือนไม่มาอยู่สองเดือนกว่า หนูเป็นกังวลมาก กลัวว่าหนูจะเป็นเนื้องอกหรือเปล่า แต่หมอเฉพาะทางเขาก็บอกมาแล้วคนทีาจะเป็นเนื้องอกขูดมดลูก ส่วนใหญ่จะเคยมีลูกเป็นคนอายุสามสิยกว่าขึ้นไป แต้หนูกังวลอยู่ดี ตอนนี้เครียดมาก จากสภาพอาการของหนูมันจะเป็นโรคอันตรายอะไรอีกหรือป่าว หมอช่วยตอบหน่อยนะคะ

    สวัสดีค่ะ คุณ 676767,

                  อาการที่ประจำเดือนมาปริมาณมาก (hypermenorrhea) มาเป็นเวลานานมากกว่า 7 วัน  (menorrhagia) ถือเป็นอาการผิดปกติ ที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

                  1. การตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ เช่น ท้องนอกมดลูก แท้งคุกคาม แท้งไม่ครบ ครรภ์ไข่ปลาอุก เป็นต้น แต่ในกรณีของคุณ 676767 หากไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ก็ไม่ใช่สาเหตุนี้ค่ะ

                  2. ความผิดปกติที่มดลูก เช่น เนื้องอกมดลูก มีติ่งเนื้อในโพรงมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งรังไข่ ส่วนใหญ่สาเหตุเหล่านี้มักพบในวัยกลางคนขึ้นไป แต่คนอายุน้อยก็ยังมีโอกาสพบได้ ค่ะ

                  3. การทำงานผลิตฮอรโมนของรังไข่ผิดปกติ เช่น ภาวะที่มีถุงน้ำในรังไข่หลายใบ มักพบในช่วงวัยรุ่น หรืออาจพบในช่วงวัยใกล้หมดประจำเดือน

                  4. มีโรคในระบบอื่นๆ เช่น มีภาวะเกร็ดเลือดต่ำ เกร็ดเลือดทำงานผิดปกติ เป็นตับแข็ง ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ เป็นต้น

                  5. จากการใช้ฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด ฮอร์โมนทดแทนในวัยหมดประจำเดือน รวมถึงยาบางอย่าง เช่น ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ยาต้านเศร้า เป็นต้น

                   ดังนั้นแนะนำให้กลับไปพบแพทย์เฉพาะทางสูติ-นรีแพทย์อีกครั้งนะคะ แพทย์อาจพิจารณาตรวจอัลตราซาวน์อีกครั้งค่ะ หากไม่พบความผิดปกติของมดลูกและรังไข่ อาจพิจารณาเจาะเลือดเพื่อดูค่าของเกร็ดเลือดหรือฮอร์โมนไทรอยด์ค่ะ