ถามแพทย์

  • ความดันโลหิตสูง

  • เวลาไปหาหมอ เพราะโรคต่างๆ รพ.จะให้วัดความดัน พยาบาลบอก ความดันค่อนข้างสูงให้ระวังเรื่องเค็ม ไปทีไรจะประมาณ 149 /93 /122 แต่ก็มีบ้างครั้งที่วัดได้ 120 /90 / 98 แต่ขึ้น 145 - 149 บ่อยมาก วัด 2 ครั้ง หลังจากนั่งพักก็ยังสูง อายุ 20 น้ำหนัก 65 สูง 165 แม่เป็น้บาหวาน ความดัน ส่วนตัวตรวจเบาหวานตลอด แต่ไม่มี ส่วนตัวเป็นคนไม่กินเค็ม แต่มีกินอาหารหมักดองเป็นบ้างครั้ง และนอนเพียงพอ นอนไม่เคยเกิน 4 - 5 ทุ่ม เวลาวัดได้ 149 ใจมักจะสั่นๆ ตลอด เหมือนตื่นเต้นกลัวมันจะสูง ไม่ค่อยออกกำลังกาย แต่มักเครียดเรื่องเรียน หรือเวลาป่วย 1.อยากทราบว่าเกิดจากการที่เราตื่นเต้นได้ไหม หรือเกิดจากการที่เราเครียดได้ไหม 2.ในระดับนี้ควรกินยารึยัง หรือแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และออกกำลังกาย ยังไม่เคยพบแพทย์เพื่อปรึกษาอย่างจริงจัง แต่พยาบาลมักบอกเสมอว่าสูงไป บ้างครั้งวัด 3 รอบ ยังสูงอยู่

     สวัสดีคะคุณ วาสนา ใจเที่ยงธรรม

    ภาวะความดันโลหิตสูง ในคนอายุน้อย มีสาเหตุได้หลายอย่างไร แต่ก่อนอื่นคงต้องดูก่อนนะค่ะ ว่าตอนนี้เข้าได้กับการวินิจฉัยเรื่องของความดันโลหิตสูงหรือไม่ค่ะ 

    เนื่องจากปัจจุบันนี้ เกณฑ์การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง ที่ออกมาของทางอเมริกา เอาเกณฑ์การวินิจฉัยตัวเลขที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้คนไข้หลายคนเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงค่ะ 

    ซึ่งเกณฑ์ล่าสุดที่ออกมาคือ

     ความดันโลหิตปกติ BP. Normal BP is defined as <120/<80 mm Hg; 

    ความดันโลหิตที่สูง เล็กน้อย elevated BP 120-129/<80 mm Hg;

    ความดันสูงระดับที่ 1 hypertension stage 1 is 130-139 or 80-89 mm Hg,

    ความดันสูงระดับที่ 2  hypertension stage 2 is ≥140 or ≥90 mm Hg.

    ดังนั้นในกรณีของคุณถ้ามีความดันโลหิตระหว่าง 145-149 mm. Hg  จะจัดอยู่ในระดับที่สองค่ะ 

    แต่อย่างไรก็ตาม ต้องมามองดูก่อนค่ะ ว่าอะไรที่เป็นสาเหตุให้มีภาวะความดันโลหิตที่สูงได้ค่ะ 

    ซึ่่งสาเหตุความดันโลหิตสูงในคนอายุน้อย

    1. พันธุกรรม ซึ่ง คุณแม่เป็นอยู่
    2. ภาวะความผิดปรกติของเส้นเลือดไต
    3. ภาวะความผิดปรกติของต่อมหมวกไต
    4. ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ

    ดังนั้นควรจะได้รับการตรวจเพิ่มเติมก่อนค่ะ ว่ามีสาเหตุชัดเจนหรือไม่ค่ะ 

    ในช่วงแรกถ้าตรวจแล้วไม่พบสาเหตุอะไร เลย คงเกิดจากเรื่องของพันธุกรรมค่ะ

    อาจจะให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนได้ค่ะ คือ 

    • ควบคุมระดับเกลือในอาหาร อาจจะต้องลดโซเดียมในอาหารค่ะ คือ เกลือ ซ้อสต่างๆ หรือ อาหารกึ่งสำเร็จรูปคงต้องอดเลยค่ะ
    • การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงค่ะ และลดการเกิดภาวะน้ำหนักเกิดได้ค่ะ ควรจะออกกำลังกายต่อเนื่องค่ะ อย่างน้อย 30-45 นาทีต่อครั้ง ติดต่อกัน อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ค่ะ 
    • และแนะนำเรื่องการซื้อเครื่องตรวจวัดความดันโลหิตไว้ที่บ้านค่ะ แนะนำตรวจเอง และบันทึกไว้ค่ะ แนะนำตรวจหลังตื่นนอนตอนเช้า และก่อนอาหารเย็นค่ะ เนื่องจากความดันโลหิตจะส่งในเวลาดังกล่าวค่ะ และการบันทึกจะช่วยให้การวินิจฉัยถูกต้องมากขึ้นค่ะ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการวินิจเรื่องภาวะความดันโลหิตสูง ในกลุ่มคนที่จะมีความดันโลหิตสูง เวลา ไปโรงพยาบาลหรือวันที่โรคพยาบาล เท่านั้นค่ะ ซึ่งเรียกภาวะความดันโลหิตสูงกลุ่มนี้ว่า white coat hypertension 

    ส่วนเรื่องการใช้ยารักษาต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์อีกครั้งค่ะ

    แนะนำพบแพทย์เพื่อปรึกษาอีกครั้งคะ