ถามแพทย์

  • เป็นตะคริวบ่อยมาก 2-3 นาทีเป็นครั้ง รักษาอย่างไร เป็นโรคกระดูกทับเส้นมาก่อนและผ่าตัดแล้ว

  • สวัดดีคับ คือผมมีญาติผู้ใหญ่มีามีอาการเป็นตะคริวบ่อยมากถึงคันรุ่นแรงแบบว่า2-3นาทีก็เป็น เวลามีอาการที่เเขนข้างขวาและขาขวาจะงิกง้อเขาหากัน ถ้าขยับผิดท่า มื้อไรเป็นทันทีและท่านชอบชื้อยามากินเองเราแนะนำให้ไปหาหมอก้อไม่ยอมไปจะทำอย่างไรและมีแนวทางการรักษาอย่างไรคับ แต่ท่านเป็นโรคกระดูกทับเส้นมาก่อนและฝ่าตัดมาแล้ว

    สวัสดีค่ะ คุณ ลูกชายกก ศิษย์ก้นกุฏิ,

                       ตะคริว คือหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ทำให้มีอาการปวดและของกล้ามเนื้อเป็นก้อนแข็ง อาการจะเป็นอยู่เพียงชั่วครู่แล้วหายไปได้เอง อาจเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อส่วนใดของร่างกายก็ได้ อาจเกิดกับกล้ามเนื้อเพียงมัดเดียวหรือหลาย ๆ มัดพร้อมกันก็ได้ กล้ามเนื้อที่พบบ่อยคือ กล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อต้นขา กล้ามเนื้อเท้า และกล้ามเนื้อหลัง

                       โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่ชัดเจน ส่วที่ทราบสาเหตุ ได้แก่

                      - การนั่ง ยืน หรือทำงานอยู่ในท่าเดิมติดต่อกันเป็นเวลานานๆ การใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป เช่น การออกกำลังกายติดต่อกันนานๆ การยกของหนักรวมถึงการขาดการออกกำลังยืดกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อตึงจนเกิดเป็นตะคริว

                       - การได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ อาจเกิดจากการกระทบกระแทก ทำให้เกิดการฟกช้ำที่กล้ามเนื้อ

                       - การดื่มน้ำน้อย ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อขาดน้ำ ซึ่งมักเป็นสาเหตุในผู้สูงอายุ

                       - อายุที่มากขึ้น ซึ่งจะมีมวลกล้ามเนื้อที่น้อยลง กล้ามเนื้อที่เหลือจึงเกิดความตึงเครียดได้ง่าย

                        - ภาวะเกลือแร่ในเลือดต่ำ เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม โดยอาจเกิดจากมีท้องเสีย อาเจียน เสียเหงื่อมาก หรือจากโรคไตเรื้อรัง

                        - ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดไขมัน ยาลดความดัน (nifedipine) ยาขยายหลอดลม (salbutamol) สเตียรอยด์ เป็นต้น

                       - ภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายแข็ง จึงส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี กล้ามเนื้อจึงขาดเลือด โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ผู้สูบบุหรี่จัด 

                       - รากประสาทถูกกด เช่น โรคโพรงกระดูกสันหลังแคบ (spinal stenosis) ที่ส่งผลให้ประสาทสั่งงานกล้ามเนื้อผิดปกติ ทำให้มักมีอาการตะคริวที่น่อง

                       - ตะคริวที่พบร่วมกับโรคเรื้อรังหรือภาวะอื่น ๆ เช่น โรคพาร์กินสัน, โรคโลหิตจาง, โรคเบาหวาน ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ภาวะขาดพาราไทรอยด์ เป็นต้น

                       ในเบื้องต้น หากไม่ได้มีโรคไตเรื้อรังหรือภาวะหัวใจวาย ควรพยายามดื่มน้ำเปล่าให้มาก หลีกเลี่ยงการยืน เดิน หรืออยู่ในท่าเดิมติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ไม่ออกกำลังกายมากเกินไป ควรมีการยืดหล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย  รวมถึงทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงชา กาแฟ เป็นต้น นอกจากนี้ควรหมั่นเหยียดกล้ามเนื้อบ่อยๆ 

                       เมื่อเกิดอาการตะคริวขึ้นมา ให้หยุดพักการเคลื่อนไหวหรือใช้งานกล้ามเนื้อส่วนที่เป็นตะคริว ใช้มือนวดกล้ามเนื้อมัดที่เป็นตะคริวเบาๆ หากมีอาการปวด อาจใช้ความเย็นช่วยประคบ หรือหากปวดมาก อาจทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล เป็นต้น

                      หากอาการตะคริวยังคงเกิดขึ้นบ่อยเกินไป แนะนำควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาค่ะ