ถามแพทย์

  • อายุ 25 ปี มีอุจจาระลีบเเบน ไม่จับตัวเป็นก้อน ขับถ่ายทุกวันวันละ1-2 ครั้ง มีอาการท้องอืดแน่นท้องบางวัน

  •  Ter Phongsakorn
    สมาชิก
    สวัสดีครับ อายุ25 ปี มีอาการอุจจาระลีบเเบน บ้างครั้งก็เเบนยาว บ้างครั้งก็ไม่จับตัวเป็นก้อน ขับถ่ายทุกวันวันละ1-2 ครั้ง มีอาการท้องอืดมีเเก๊สในบ้างวันครับ

    สวัสดีค่ะ คุณผู้ใช้งาน,

                      ขนาดของอุจจาระ รูปร่าง ปริมาณ สี และความแข็งหรือนิ่มของอุจจาระ จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน และคนๆ เดียวกัน ก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละวัน นอกจากจะอยู่กับปริมาณอาหารที่ทานแล้ว ยังขึ้นกับชนิดและลักษณะของอาหาร รวมถึงปริมาณน้ำที่ทานในแต่ละวัน และยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น การทานยาบางชนิด การเคลื่อนไหวของร่างกาย การออกกำลังกาย ความเครียด เป็นต้น

                        สำหรับการที่อุจจาระลีบแบน ไม่จับตัวเป็นก้อน ก็อาจจะเกิดจากการทานอาหารปริมาณน้อย หรือทานอาหารที่มีกากใยน้อย มีการดื่มน้ำน้อย เป็นต้น ทั้งนี้ หากยังคงขับถ่ายอุจจาระได้ทุกวัน วันละไม่เกิน 3 ครั้ง ไม่ได้เหลวเป็นน้ำ ไม่มีถ่ายเป็นเลือด ก็ถือยังเป็นการถ่ายอุจจาระที่ปกติดีค่ะ

                         ส่วนถ่ายอุจจาระที่ผิดปกตินั้น คือถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เรียกว่ามีอาการของท้องผูก หรือมีการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน เรียกว่ามีอาการท้องเสีย หรือหากมีอาการท้องผูกสลับกับท้องเสีย หรืออุจจาระมีขนาดเล็กจนเป็นก้อนเล็กๆ กลมๆ เหมือนอุจจาระกระต่าย ร่วมกับมีปวดท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เป็นต้น

                       ส่วนอาการท้องอืด แน่นท้อง แสดงว่ามีแก๊สในระบบทางเดินอาหารมาก ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การทานอาหารที่ย่อยยาก ทานอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สหรือเครื่องดื่มที่มีแก๊ส เช่น น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ ถั่ว เมล็ดธัญพืชต่างๆ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ยังไม่ปรุงให้สุกดี เป็นต้น เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือการมีความเครียด เป็นต้น 

                        ในเบื้องต้น แนะนำให้ทานอาหารอ่อน อาหารที่ย่อยง่าย ไม่ทานอาหารรสจัด เคี้ยวช้าๆ ให้ละเอียด ไม่ทานและกลืนเร็ว  ไม่ควรทานจนอิ่มเกินไป ไม่ดื่มน้ำอัดลม อัดแก๊สต่างๆ รวมถึงชา กาแฟ โกโก้ แอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารทอดต่างๆ เป็นต้น

                       หากอาการยังไม่บรรเทา อาจทานยาที่ช่วยลดอาการแน่นท้อง เช่น ไซเมทิโคน (simethicone), เอ็ม คาร์มิเนทิฟ (M. Carminative) ยาธาตุน้ำแดง เป็นต้น รวมถึงยาที่ช่วยย่อยอาหาร เช่น ไดเจสติน (digestin), มาเจสโต (magesto-F) เป็นต้น

                        แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น ก็ควรไปพบแพทย์ค่ะ