ถามแพทย์

  • 4 เดือนที่ผ่านมา ไม่อยากเข้าสังคม ร้องไห้ทุกวัน นอนหลับยากและไม่สนิท มีความคิดอยากตาย เป็นอาการอะไร

  •  Nattapat Meeprom
    สมาชิก
    สวัสดีค่ะ เมื่อก่อนหนูเป็นคนร่าเริง ชอบทำให้คนที่อยู่ใกล้หัวเราะ เป็นคนยิ้มง่าย คิดในแง่บวก แล้วในช่วงมกราคม ประมาณ เกือบสี่เดือนก่อน เริ่มรู้สึกแปลกๆ ไม่อยากพบใคร ไม่อยากเจอหน้า ไม่อยากสุงสิงกับใคร เบื่อการเข้าสังคม เบื่อบ้าน ชอบอยู่คนเดียว ร้องไห้คนเดียวเกือบทุกวัน โดยไม่รู้สาเหตุว่าร้องเพราะอะไร เบื่ออาหาร เหนื่อย ไม่อยากทำอะไร นอนหลับยาก ชอบสะดุ้งตื่นตื่นตอนดึกๆ โทษตัวเอง มองโลกในแง่ร้ายคิดแต่เรื่องอยากตาย อยากทำร้ายตัวเอง แต่ไม่เคยทำ ชอบไปไหนมาไหนคนเดียว รำคาญเวลาคนเข้าใกล้ เบื่อกิจกรรมทุกอย่าง อยากแต่จะนอน แต่นอนไม่หลับ ทั้งๆที่เมื่อก่อนไม่เป็น พอประมาณช่วงเดือนมีนาคม อาการเหล่านี้ก็หายไป กลับมาเป็นปกติ แต่พอเข้าเดือนเมษายน อาการข้างต้นก็กลับมาอีก หนักกว่าเดิม ร้องไห้ง่าน ท้อ เหนื่อย คุยกับใครไม่ได้ ร้องทีก็เป็นชั่วโมงสองชั่วโมง มันก็จะปวดหัวมากค่ะ แล้วก็จะชอบโทษตัวเอง คิดทุกเรื่อง ทั้งเก่าทั้งใหม่ ผสมปนเป อาการแบบนี้ คืออะไรคะ

    สวัสดีค่ะ คุณ Nattapat Meeprom

    จากที่เล่ามา คิดว่า คุณ Nattapat Meeprom มีภาวะทางอารมณ์ไม่ปกติ อาจมีภาวะเครียดหรืออาจมีภาวะโรคซึมเศร้าค่ะ

    ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีอาการที่เปลี่ยนแปลงทั้งอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความจำ

    ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป และอาการแสดงทางร่างกายต่างๆ

    โดยอาการอาจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็นสัปดาห์ หรือค่อยเป็นค่อยไปเป็นก็ได้

    -อาการทางอารมณ์ เช่น เศร้า หดหู่ อ่อนไหว บางคนอาจมีความรู้สึกไม่แจ่มใส เบื่อหน่าย  บางคนมีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียวได้

    -ความรู้สึกนึกคิด เช่น มองอะไรแย่หมด ท้อแท้หมดหวัง รู้สึกไร้ค่า ไร้ความสามารถ  บางคนอาจมีอารมณ์ชั่ววูบอยากทำร้ายตนเอง

    -สมาธิความจำแย่ลง

    -ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป อาจจะเก็บตัว ไม่ค่อยพูด ทำงานแย่ลง

    -อาการแสดงทางร่างกาย เช่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง นอบหลับๆตื่นๆ ไม่เจริญอาหาร น้ำหนักลด ท้องผูก ท้องอืด ปวดหัว ปวดตามตัว

    *คนไข้หากมีอาการมากขึ้น อาจมีอาการหลงผิด ประสาทหลอน หูแว่วได้

    *โรคซึมเศร้านี้ยังมีลักษณะอาการคล้ายโรคอื่นอีก เช่น โรควิตกกังวล โรคอารมณ์แปรปรวน

    โรคสมองอักเสบ โรคไทรอยด์ทำงานบกพร่อง เป็นต้น

    -การรักษา: ในรายที่เป็นมาก แพทย์จะให้ยาช่วย

    แต่บางรายที่เป็นไม่มากแพทย์อาจจะพูดคุยให้คำแนะนำเพื่อให้อาการดีขึ้น

    **ดังนั้นจึงแนะนำให้คุณ Nattapat Meeprom  ควรเล่าถึงภาวะทางอารมณ์ให้คนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวเพื่อให้อารมณ์ผ่อนคลายและช่วยแก้ไขปัญหานะคะ

    หากอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม.

    ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ