ถามแพทย์

  • มีติ่งกลมอยู่ที่รูทวาร บีบแล้วเจ็บ ถ่ายไม่มีเลือด เป็นมา 2 สัปดาห์ เป็นอะไร เป็นคนถ่ายยากด้วย

  •  Sansani Koedthesom
    สมาชิก
    อยากทราบว่า.หนุมีติ้งกลมเป็นก้อนยุข้างในๆเล็กอยู่ที่ รูทวารอยากทราบว่ามันเป็นอะไรคะไม่เจ็บเเตถ้าบีบที่ติ้งก้จะเจ็บนิดๆคะเวลาถ่ายก็ไม่มีเลือดเเต่หนูเป็นคนถ่ายอยากมากคะไม่ค่อยถ่ายเรยด้วยคะ..ส่วนนี้ก็พึ้งมาขึ้นได้เเค่2อาทิตย์กว่าเองคะตอนที่ขึ้นครั้งแรกจะเจ็บนั่งแทบไม่ได้แต่พอ 2-3 วันก็หาเจ็บคะติ้งมันขึ้นช่วงที่หนูเปนประจำเดือนคะ..2อาทิตย์กว่าเเล้วยังไม่หายเลยคะมันขั้นที่ขอบรูทวารคะช่วยบอกที่คะกังวนเเหละก้กลัวมากคะ

    สวัสดีค่ะ คุณ Sansani Koedthesom,

                      ติ่งกลมๆ ที่อยู่ตรงรูทวารหนัก อาจเป็น

                      1. ริดสีดวงทวารชนิดภายนอก จะเห็นเป็นติ่งเนื้อยื่นออกมากจากรูทวารหนัก มักไม่ทำให้เกิดเลือดออกเหมือนริดสีดวงภายใน แต่จะทำให้มีอาการเจ็บ แสบ หรือปวดได้ สาเหตุมักเกิดจากการมีท้องผูก เบ่งถ่ายอุจจาระบ่อยๆ นั่งถ่ายอุจจาระนาน หรือมีน้ำหนักตัวมาก หรือเคยคลอดลูกหลายคน เป็นต้น

                       2. แผลปริขอบทวารหนัก ในช่วงเริ่มแรก อาการคือจะเจ็บและแสบรูทวาร ร่วมกับมีเลือดสีแดงสดออกมาเล็กน้อย โดยจะเกิดเมื่อถ่ายอุจจาระก้อนใหญ่ แข็ง หรือออกแรงเบ่งมาก เมื่อเป็นเรื้อรัง เยื่อบุผิวรอบๆ แผลที่ทวารหนักนี้จะหนาตัวขึ้น ทำให้มีลักษณะเป็นติ่งหรือตุ่มเนื้อขึ้นมาได้

                      3. หูดหงอนไก่ จะเป็นติ่งเนื้อหรือตุ่มเนื้ออ่อนๆ สีชมพูหรือสีเนื้อ ผิวมักขรุขระ อาจพบติ่งเดียวหรือหลายติ่ง อาจมีอาการคันร่วมด้วยแต่มักไม่มีอาการเจ็บ เป็นโรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์

                      4. เป็นติ่งเนื้อธรรมดาของผิวหนังรอบๆ ทวารหนัก มักไม่มีอาการอะไร ถ้ามีขนาดใหญ่เวลานั่งอาจรู้สึกเจ็บ

                       5. ก้อนที่ลำไส้ใหญ่หรือบริเวณทวารหนักจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เนื้องอกของลำไส้ตรง หรือเนื้องอกทวารหนัก ที่ยื่นออกมาจนพ้นรูทวารหนัก

                      หากมีประวัติของการมีท้องผูก โดยที่ไม่มีถ่ายเลือด ก็น่าจะเป็นริดสีดวงทวารชนิดภายนอกค่ะ แต่หากต้องการการวินิจฉัยที่แน่นอน ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจค่ะ ในเบื้องต้น ไม่ควรไปบีบติ่งดังกล่าวอีก เพราะอาจเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ และควรพยายามอย่าให้ท้องผูก โดยการดื่มน้ำเปล่ามากๆ เน้นทานผักและผลไม้สด และอาจทานไฟเบอร์เสริม ไม่เบ่งถ่ายอุจจาระ ไม่นั่งถ่ายอุจจาระนาน หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้ลำไส้เกิดการเคลื่อนไหว ถ่ายได้ง่ายขึ้น เป็นต้น หากยังคงมีท้องผูกเรื้อรัง แนะนำควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาค่ะ