ถามแพทย์

  • มีดหล่นใส่เท้า แผลเป็นหนอง กลัวเป็นบาดทะยัก ควรทำอย่างไร

  •  Ooa Saengjsj
    สมาชิก
    วันศุกร์ 14 กุมภาพันธ์ 2563 มีดหล่นใส่เท้า ตอนโดนไม่เจ็บเจ็บนิดหน่อย เล็กน้อย ล้างเลือดออกด้วยน้ำเปล่าปกติ หลังจากนั้นอีก 2 วัน วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 พบว่ามีหนองที่แผลใหญ่กว่าหัวสิวนิดนึง วันนี้ 17 กุมภาพันธ์ 2563 ไปหาหาหมอและฉีดยาป้องกันบาดทะยักแล้ว ตอนนี้ไม่มีอาการใดๆ ที่แผลและอื่นๆ ที่บาดแผลไม่ถูกเสียดสีก็ไม่เจ็บ ปัญหาคือ ผมกังวล กลัวเป็นบาดทะยัก คำถาม คือ 1. ต้องใช้เวลากี่วันที่เชื้อโรคจะฟักตัวเป็นบาดทะยักได้ ของผม 2 วัน ยังโอกาสเป็นบาดทะยักมากน้อยแค่ไหน 2. จะสังเกตอะไรเป็นอันดับแรกว่าเป็นบาดทะยัก สังเกตหลังจากกี่วัน 3. เขาว่ากันหากเป็นบาดทะยักอาจะมีไข้สูงร่วมด้วย แต่ผมฉีดยาป้องกันบาดทะยักมาเขาก็บอกว่าอาจจะมีไขั แล้วจะแยกยังไงครับว่าไข้มาจากบาดทะยักหรือการฉีดยา 4. แพทย์ให้ยา DICLOXacillin(ATB) 500 mg กิน 4 ครั้งก่อนอาหาร จำนวน 20 เม็ดจนครบ นี้เป็นยาที่ถูกต้องไหมครับ แล้วหากกินไม่หมดจะเกิดอะไรขึ้นครับ พอดีผมกินยาเม็ดใหญ่ไม่ค่อยได้ อาจมีอ้วกกันบ้าง 5. มีเหตุการณ์อะไรที่ผมสังเกตเป็นอันดับแรกที่เมื่อผมรู้แล้วต้องไปหาหมออีกครั้ง 6. ผมอ่านจากแหล่งต่างๆกันน่ากลัว มีสิ่งอื่นๆ ตามมาอีกเพียบ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไหมครับ เมื่อผมรู้ว่ามีอาการควรพบแพทย์ภายในกี่ชั่วโมงครับ 7. รักษาหายไหม โอกาสตายกี่ % ครับ 8. ผมจะจัดการการแผลและหนองยังไงครับ 9. แผลลักษณะนี้มีโอกาาเป็นบาดทะยักไหมครับ โดยปลายมีดหล่นใส่เท่า  

    สวัสดีครับ คุณ Ooa Saengjsj

    ตามแผนการฉีดของสาธารณสุข เด็กไทยทุกคนจะได้รับการฉีดป้องกันบาดทะยัก ตั้งแต่เด็กอยู่แล้วครับ (เริ่มฉีดทั้งหมด 5 ครั้งที่บริเวณแขนหรือต้นแขนเมื่อเด็กอายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 15-18 เดือน และเมื่ออายุ 4-6 ปี) ดังนั้น โดยทั่วไปคนทั่วไปจึงมีระดับภูมิคุ้มกันบาดทะยักในระดับหนึ่งอยู่แล้ว  การฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่มักเป็นการฉีดเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น  ดังนั้น ในทางสถิติ จึงไม่มีการรายงานผู้ป่วยบาดทะยักในไทย ด้วยสาเหตุดังกล่าวครับ

    ส่วนรายละเอียดของเชื้อนั้น บาดทะยักสามารถแพร่ผ่านบาดแผลที่เกิดขึ้นตามร่างกาย เชื้อบาดทะยักนี้จะไปกระทบต่อระบบประสาท จึงมักทำให้มีอาการเจ็บปวดและเกร็งกล้ามเนื้อเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขากรรไกรและกล้าม เนื้อลำคอ มีระยะฟักตัว 3-21 วันหรืออาจนานกว่านั้น แต่โดยเฉลี่ยมักมีอาการภายใน 10-14 วันครับ

    สำหรับเรื่องยาปฏิชีวนะ แนะนำว่าต้องรับประทานตามแพทย์สั่งทุกวัน ไม่ควรเหลือไว้ เพื่ออาจทำให้เชื้อโรคอื่นบริเวณผิวหนังดื้อยา และรักษายากขึ้นครับ  หากคิดว่ามีปัญหาด้านการใช้ยา หรือรู้สึกมีผลข้างเคียง แนะนำพบแพทย์อีกครั้ง ไม่ควรหยุดยาเองครับ

    อย่างที่กล่าวไป โอกาสติดเชื้อบาดทะยักนั้นน้อยมากๆครับ และในรายที่มีการรายงานมักพบในประเทศกันดารที่วัคซีนไม่ทั่วถึง อย่างไรก็ดี คนที่เป็นโรคนี้ก็ยังมีทางรักษา แม้ว่าอาจจะต้องใช้เวลานานเป็นสัปดาห์ก็ตามทีครับ

    เรื่องแผลขอแนะนำให้ไปล้างแผลในสถานพยาบาลที่ใกล้บ้านทุกวันดีกว่าครับ เพราะถ้าเป็นแผลติดเชื้อแล้ว ควรได้รับการล้างแผลด้วยชุดเครื่องมือที่ฆ่าเชื้อมาแล้ว อย่างในโรงพยาบาล เพื่อจะได้ไม่ติดเชื้อโรคอื่นซ้ำซ้อนอีกครับ

    สุดท้ายนี้ ขอย้ำว่าแผลลักษณะมักจะติดเชื้อจากเชื้อโรคที่อยู่ตามผิวหนังมากกว่าครับ  หากมีอาการปวด บวม แดง หรือ เดินลำบาก ก็ควรพบแพทย์ทันที เพราะอาจบ่งบอกว่ามีการติดเชื้อที่ลึกลงไปกว่าผิวหนังครับ