ถามแพทย์

  • ปวดกรามมานานหลายปี มีเสียงคลิ๊กตลอด ตอนนี้รู้สึกกรามใหญ่ไม่เท่ากัน วันนี้ปวดมากจนอ้าปากไม่ได้ เป็นอะไร

  •  Pongsakorn Visagesingk
    สมาชิก
    ปวดกรามมานาน นานมากๆแล้ว มีเสียงคลิ๊ก ตลอด ต้องทำให้กรามดัง คล้ายกับการดัดนิ้วแล้วสบาย หลายปีแล้ว จนรู้สึกกรามใหญ่กว่าข้างซ้าย จนวันนี้ปวดหนักขึ้น หนักจนไม่อ้าปาก ก็ปวด อยากทราบว่าอาการนี้ต้องปรึกษาหมออะไร และ วินิจฉัยเบื้องต้นเป็นอะไรได้บ้าง

    สวัสดีค่ะ คุณ Pongsakorn Visagesingk,

                      อาการปวดกรามที่เป็นมานานหลายปี มีเสียงคลิ๊กเกิดขึ้น น่าจะเกิดจากมีภาวะความผิดปกติและอักเสบของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular joint disorder) ซึ่งอาการจะได้แก่

                        - ปวดบริเวณข้อต่อขากรรไกร หรือบริเวณกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคี้ยว

                        - อ้า หรือหุบปากได้ไม่เต็มที่ 

                        - เวลาเคลื่อนไหวขากรรไกร แล้วมีเสียงผิดปกติที่ข้อต่อขากรรไกร เช่น เสียงคลิก หรือ เสียงกรุบกรับ

                       - อ้า หุบปาก หรือเคลื่อนไหวขากรรไกรแล้วมีอาการเจ็บหรือปวด

                       - ขากรรไกรค้าง 

                       -  เจ็บร้าวบริเวณใบหน้า

                       สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิด ได้แก่ 

                     - ตัวแผ่นหมอนรองกระดูกข้อต่อขากรรไกรมีการสึกกร่อน หรือเคลื่อนตัวออกนอกตำแหน่ง

                     - กระดูกอ่อนของข้อต่อถูกทำลายจากภาวะข้อเสื่อม

                     - ข้อต่อถูกกระทบกระเทือนจากปัจจัยภายนอก

                     - ไม่ทราบสาเหตุ 

                    สำหรับปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดภาวะนี้ ได้แก่ 

                      - มีโรคที่ทำให้เกิดการเสื่อมของข้อต่อ เช่น รูมาตอยด์

                      - การได้รับบาดเจ็บที่กระดูกขากรรไกร

                      - การมีภาวะกัดเค้นฟันแบบเรื้อรัง

                      - ภาวะโรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบางชนิดซึ่งส่งผลต่อข้อต่อขากรรไกร

                      หากเป็นมานาน และมีอาการปวดรุนแรง แนะนำควรไปพบแพทย์ หรือทันตแพทย์เพื่อรักษาค่ะ ซึ่งหากมีภาวะความผิดปกติและอักเสบของข้อต่อขากรรไกรจริง ก็ต้องหาปัจจัยเสี่ยง และรักษาอาการปวด ด้วยการทานยาแก้ปวดลดอักเสบ เช่น ไอบูโพรเฟน ไพรอกซิแคม, ยาคลายกล้ามเนื้อ,  ยาคลายกังวล (ซึ่งจะช่วยลดปวด ลดภาวะการกัดเค้นฟันลงได้) 

                        แต่หากการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาใช้วิธีการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น

                        - การใส่ที่ครอบฟัน เพื่อทำให้การสบฟันคงที่ ลดแรงกระแทกต่อข้อต่อขากรรไกรที่เป็นปัญหา 

                       - การล้างเข้าไปภายในข้อต่อขากรรไกร 

                       - การฉีดยาเข้าข้อต่อหรือกล้ามเนื้อ โดยอาจเป็นยาสเตียรอยด์หรือ ฉีดสาร Botulinum toxin A (โบท๊อกซ์)

                       - การผ่าตัดข้อต่อขากรรไกร

                      ส่วนการดูแลตนเองในเบื้องต้น ได่แก่

                      - ไม่เพิ่มแรงเค้นให้ข้อต่อขากรรไกร เช่น การเค้นฟัน กัดของแข็ง

                      - ทานอาหารที่เคี้ยวง่าย ไม่เคี้ยวอาหารชิ้นใหญ่ อาหารที่แข็ง เช่น เนื้อสัตว์ที่เหนียว ถั่วแข็ง อ้อย น้ำแข็ง รวมถึงงดหมากฝรั่ง

                      - การประคบร้อนบริเวณที่ปวดบ่อยๆ