ถามแพทย์

  • ประจำเดือนมาจำนวนมากเป็นมานานแล้ว เหนื่อย ไม่มีแรง ผิดปกติไหม ต้องไปพบแพทย์ไหม

  •  Applezaa
    สมาชิก

    สวัสดีคะ มีปัญหาประจำเดือนมามาก คือใส่แผ่นอนามัยสำหรับกลางคืน ตอนกลางวัน 1.30-2ชม. คือต้องเปลี่ยน (วันที่สอง หรือ สาม ของการเป็นประจำเดือน) ประจำเดือนมา  7 วัน  และทำให้มีอาการเหนื่อย และไม่มีแรง  บางครั้งมีอาการ ปวดหัว ปวดหลัง  ปวดท้อง ร่วมด้วย

    เป็นแบบนี้มาตั้งแต่เริ่มเป็นประจำเดือน  และ ยังเป็นแบบนี้จนถึงปัจจุบัน (อายุ 38 ไม่เคยมีบุตร) ไม่มีที่ท่าว่าจะน้อยลงเลย (ทานอาหารเสริม Hemovit one ช่วยเรื่องเลือดอยู่คะ ทานได้ประมาณครึ่งเดือน)

    คำถามคือ 

    1.  เบื้องต้น ผิดปรติหรือป่าวคะ หรือควรพบแพทย์ เพื่อทำการวินิฉัย

    2. เป็นกรรมพันธุ์ หรือไม่ (คุณแม่เป็นแบบนี้เหมือนกัน)

    3. มีทางไหนให้มีลดลง บ้างไหมคะ

     

    สวัสดีค่ะ คุณ Applezaa, 

                      การมีประจำเดือนมาปริมาณมาก (hypermenorrhea) คือมากกว่า 80 มิลลิลิตรในแต่ละครั้ง หรือมากจนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 2 ชั่วโมงดังกล่าว ถือว่ามีประจำเดือนผิดปกติ โดยอาจเกิดจาก

                      1. ความผิดปกติที่มดลูก เช่น เนื้องอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น แต่หากการมีประจำเดือนมามาก เป็นมาตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงปัจจุบัน ก็ไม่น่าใช่สาเหตุ

                      2. การทำงานผลิตฮอร์โมนของรังไข่ผิดปกติ เช่น ภาวะที่มีถุงน้ำในรังไข่หลายใบ แต่มักมีอาการขาดประจำเดือน หรือนานๆ ประจำเดือนจะมาสักครั้ง แต่เวลามา จะมีปริมาณมาก

                     3. มีโรคในระบบอื่นๆ เช่น มีภาวะเกร็ดเลือดต่ำ เกร็ดเลือดทำงานผิดปกติ ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ เป็นต้น

                    หากมีประจำเดือนมามาก จนทำให้เกิดอาการเหนื่อย และไม่มีแรง แสดงว่าอาจเกิดจากภาวะโลหิตจางร่วมด้วย ซึ่งเป็นผลจากการที่เสียเลือดปริมาณมากนานๆ 

                   แนะนำว่าควรไปพบแพทย์เฉพาะทางสูติ-นรีแพทย์ เพื่อหาสาเหตุค่ะ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะหากมีภาวะโลหิตจางเกิดขึ้นแล้ว ก็อาจทำให้เกิดอาการหรือโรคอื่นๆ ตามมาได้อีกค่ะ

                    ดังนั้น สำหรับคำตอบ

                    1. การมีปริมาณประจำเดือนมาก ถือเป็นอาการผิดปกติ แนะนำควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุค่ะ

                    2. โดยส่วนใหญ่จะไม่ใช่กรรมพันธ์ุ แต่หากเกิดจากโรคทางกายบางอย่าง เช่น มีการทำงานของเกร็ดเลือดผิดปกติ หรือมีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ซึ่งโรคบางอย่างอาจถ่ายทอดผ่านทางกรรมพันธ์ุได้

                    3. การรักษาก็จะขึ้นกับสาเหตุค่ะ