ถามแพทย์

  • มีอาการท้องผูกหลังผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมา เบ่งถ่ายไม่ออก จะผายลมต้องเดินไปเดินมาก่อน เกิดจากอะไร

  •  Drgsar
    สมาชิก

    คือผมเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ก่อนผ่าตัดคือไม่สามารถขับถ่ายได้ มีอาการชาที่ก้นทั้งสองข้าง ขาซ้ายไปจนถึงส้นเท้าและนิ้วก้อย และชาอวัยวะเพศ หลังผ่าตัดผมเดินได้ปกติไม่มีอาการปวด หลังผ่านไป1เดือน อาการชาเหลือแค่ก้นซ้าย และอวัยะเพศฝั่งซ้าย ส่วนเวลาขับถ่ายยังต้องเบ่งแรงๆ และเริ่มมีความรู้สึกปวดถ่ายตลอดเวลา(แต่เวลามีอุจจาระออกไม่รู้สึกและไม่สามารถกั้นได้ถ้าท้องเสีย คือยังไม่มีความรู้สึกตรงหูรูด) เริ่มมีอาการท้องผูก อุจจาระเริ่มเป็นก้อนเล็กๆ แบนบ้าง กลมบ้าง ก่อนหน้าที่จะผ่าตัดไม่เคยเป็น(ปกติเป็นคนถ่ายง่ายทานอะไรก็แทบจะถ่ายหลังจากนั้นทันที) คุณหมอที่ผ่าตัดบอกว่าเป็นอาการข้างเคียงจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มันส่งผลตรงต่อหูรูดทวารหนัก แต่ผมกลัวเป็นมะเร็งลำไส้ เพราะมันปวดหน่วงๆตรงหูรูดตลอดเหมือนจะถ่าย ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเส้นประสาทหรือไม่ เบ่งถ่ายไม่ออก จะผายลมก็ไม่ออกต้องเดินๆไปมามันจะผายลมออกมาเอง อุจจาระยังเป็นสีน้ำตาลปกติ ไม่มีถ่ายเป็นเลือด 
    ช่วงหลังๆมีอาการถ่ายเป็นมูก มีแต่มูกออกมา ผายลมก็มีมูกออกมา แต่ไม่ทราบว่าเกิดจากยาที่กินหรือไม เพราะเกิดหลังจากคุณหมอให้ยาที่ทำให้อุจจาระนิ่มมาทานที่เป็นน้ำเชื่อมหวานๆ ชื่อดูฟาแลค และก็มี senokot 

     

    Drgsar  พญ.นรมน
    แพทย์

     สวัสดีค่ะคุณ Drgsar

    กระดูกทับเส้น (Herniated Disc) คือปัญหาเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกอย่างหนึ่ง เกิดจากหมอนรองกระดูกที่อยู่บริเวณกระดูกสันหลังถูกทำลายจนเสียหาย ส่งผลให้ไปกดทับเส้นประสาท ผู้ป่วยอาจรู้สึกชา อ่อนแรง หรือเจ็บบริเวณแนวเส้นประสาทที่ถูกกดทับ  ร่วมกับอาจส่งผลต่อการขับถ่ายได้ เช่นอาจจะรู้สึกปวดเบ่งอุจจาระอยู่ตลอด มีท้องผูก ถ่ายลำบากมากขึ้น

    จากอาการที่กล่าวมานั้น ก็ยังนึกถึงว่าเป็นอาการที่เกี่ยวข้องหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทได้มากอยู่ค่ะ ส่วนเรื่องมะเร็งลำไส้ที่กังวลนั้น อาจจะต้องดูอาการอื่นๆประกอบด้วยเช่น ถ่ายเป็นเลือดปน น้ำหนักลดเร็ว การขับถ่ายเปลี่ยนแปลง มีท้องผูกสลับท้องเสียอยู่ตลอด ไม่ใช่ท้องผูกเพียงอย่างเดียว

    แนะนำการรับประทานยาช่วยถ่ายดังที่แพทย์จ่ายมาได้ และทำกายภาพต่อเนื่องหลังการผ่าตัดเพื่อให้การฟื้นฟูร่างกายเป็นไปได้อย่างเต็มที่ และหากยังมีอาการผิดปกติใดๆ แนะนำการสอบถามกับแพทย์ที่รักษาโดยตรงอีกครั้ง