ถามแพทย์

  • มีอาการปวดขัดตรงขาหนีบด้านขวา เวลากลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระจะปวดตึงๆ ปวดเสียวตรงท้องน้อย ปวดช็อต แปล๊บ รักษาอย่างไร

  •  top24708
    สมาชิก
    สวัสดีครับ ผมมีอาการปวดขัดบริเวณขาหนีบด้านขวา จะมีอาการเมื่อกลั้นปัสสาวะหรือขณะกำลังอุจจาระหรือเมื่อแบะขาออกแล้วกดลงไปแนวขาหนีบจะรู้สึกปวดตึงๆ อาการก่อนหน้าระยะแรกคือเคยเป็นแผลบริเวณอวัยวะเพศจากการถลอก แล้วหลังจากนั้นประมาณ 1 อาทิตย์จะปวดเสียวเหมือนเส้นประสาทอักเสบบริเวณท้องน้อยทั้งซ้ายและขวา ลงอัณฑะ ลงขาทั้ง 2 ข้างได้ไปทำการตรวจอันตร้าซาวที่อัณฑะไม่พบความผิดปกติอะไรได้ยาลดอักเสบและแก้ปลายประสาทอักเสบมากิน อาการเสียวตามขาดีขึ้นแต่เริ่มมาปวดเอวด้านขวาหลังเหนือบริเวณสะโพก แล้วถัดมาเริ่มมีอาการแปร๊บๆแนวกระดูกสันหลังส่วนล่างมาทางด้านขวา ได้ไปทำกายภาพบำบัด พบว่ามีอาการกล้ามเนื้อสะโพกทับเส้นประสาท ไปทำกายภาพประมาณ 4 ครั้งอาการปวดสะโพกและหลังดีขึ้นแต่ปวดในขาหนีบยังอยู่เหมือนเดิม หลังจากนั้นได้พยายามออกำลังกายด้วยการลุกนั่งเพื่อสร้างกล้มเนื้อ แต่กลับมีอาการชาบางๆเหนือหัวเข่าด้านขวาลามมาถึงกลางขาฝั่งด้านนอก และเมื่อพยายามยืดกล้ามเนื้อต้นขาจะมีอาการแปร๊บๆเหมือนไฟช็อตบริเวณหัวเข่า ไม่ทราบว่าควรจะเริ่มรักษาอาการนี้จากตรงไหนดีครับ
    top24708  พญ.นรมน
    สมาชิก

    สวัสดีค่ะคุณผู้ใช้งาน

    อาการปวดขัดตรงขาหนีบด้านขวา เวลากลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระจะปวดตึงๆ ปวดเสียวตรงท้องน้อย ปวดช็อต แปล๊บนั้น อาจจะเกิดจาก ปลายเส้นประสาทถูกกดทับอย่างผิดท่าอยู่นานๆ ทำให้มีอาการปวดไปตามแนวปลายเส้นประสาท สาเหตุอื่นๆเช่นปลายเส้นประสาทอักเสบจากการติดเชื้อ หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท การขาดวิตามิน การเป็นเบาหวานเรื้อรัง หรือการรับความรู้สึกของปลายประสาทไปสู่สมองมีความผิดปกติ การมีงูสวัดซึ่งหลังจากนี้อาจมีตุ่มน้ำใสแสบร้อนตามมาได้

    จากที่กล่าวมา อาการปวดเรื้อรัง ปวดแปล๊บๆ ลักษณะน่าจะเหมือนปวดปลายเส้นประสาทได้มากหรืออาจจะเป็นกลุ่มหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทก็ได้เช่นกัน โดยผู้ป่วยอาจมีอาการปวดร้าวลงขาเมื่อต้องเดินในระยะทางสั้น ๆ และอาการแย่ลงเมื่อยืนขึ้น นั่งลง เคลื่อนไหวบางท่า หรือตอนกลางคืน รู้สึกชาหรือเสียวปลาบที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย  มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้

    แนวทางการรักษานั้นการรักษาด้วยยาเช่นยาแก้ปวด ยาระงับปวดปลายประสาทสั่งจ่ายโดยแพทย์สามารถทำได้ กายภาพบำบัด จะช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น รวมทั้งป้องกันการได้รับบาดเจ็บด้วย ส่วนการผ่าตัดหมอนรองกระดูก แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัดหากการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผลและผู้ป่วยยังมีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง เดินหรือยืนลำบากนานมากกว่า 6 เดือน หรือไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะได้

    แนะนำการไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการให้แน่ชัด และรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป