ถามแพทย์

  • อายุ 14 ปี อาการจุกตรงหน้าอกข้างซ้าย กินยารักษากระเพาะไม่หาย หมออีกท่านบอกเป็นกระดูกอ่อนอักเสบ เป็นอะไรกันแน่

  •  Sirasak Bunngam
    สมาชิก
    ผมอายุ14ครับคือ ผมมีอาการจุกๆตรงหน้าอกข้างซ้ายจุกตลอดเวลาผ่านไปประมาณ20วันไปหาหมอหมอบอกว่าเป็นโรคกระเพาะพอกินยาก้ไม่หายจากนั้นผ่านมาประมาณ3-4เดือนหลังจากวันที่เริ่มจุกมันรู้สึกจุกตรงกระดูกเหนือลิ้นปี่และก้ตรงซี่โครงไปหาหมอรอบ2แต่คนละที่กับรอบแรกนะคับหมอบอกว่าเป็นกระดูอ่อนอักเสบแต่ว่าก้ไม่หายครับผ่านมาปัจจุบันประมาณ1เดือนจากที่ไปหาหมอรอบ2ตอนนี้จุกแต่ตรงแถวๆนมข้างซ้ายไปถึงซี่โครงบางวันจะมีอาการจี๊ดๆตรงนมข้างซ้ายครับคือผมอยากรู้ว่าผมเป็นอะไรกันแน่ครับ*แต่ว่าอาการจุกคือแค่พอรำคาญเหมือนมีอะไรอยู่ไม่ได้ปวดมากแต่บางครั้งก้จุกแบบแน่นๆและก้บางครั้งมีจี๊ดๆครับ

    สวัสดีค่ะ คุณ Sirasak Bunngam,

                        อาการจุกตรงหน้าอกข้างซ้าย อาจเกิดจาก

                       - โรคกรดไหลย้อน กระเพาะอาหารอักเสบ  แต่นอกจากอาการจุกหน้าอกแล้ว มักมีอาการแสบร้อนกลางอกร่วม หรือมีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมในคอ หรือเจ็บคอ ระคายเคืองคอ เป็นต้น และอาจมีปวดบริเวณลิ้นปี่ ช่องท้องด้านซ้ายนอกจากนี้อาจมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย อิ่มเร็ว เรอบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น

                       - กล้ามเนื้อหน้าอกอักเสบ หรือกระดูกซี่โครงอักเสบ จากการบาดเจ็บ เช่น การใช้งานมากไป ยกของหนัก การเล่นกีฬา ออกกำลังกายมากไปหรือผิดท่า มักจะมีจุดกดเจ็บที่ชัดเจน และจะเจ็บตามท่าทาง หรือเมื่อไอ จาม 

                       - โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่จะพบในคนอายุมาก หรือมีปัจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น มีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น อาการจะรู้สึกแน่นหน้าอกบริเวณตรงกลางหรือด้านซ้ายลามไปจนถึงช่วงแขน คอ กราม แต่อาการปวดจะเกิดขึ้นเมื่อออกแรงทำงาน โดยจะทำให้เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกมาก จนต้องหยุดการทำกิจกรรมที่ทำอยู่ และเมื่อหยุดพัก ก็จะดีขึ้น

                         นอกจากนี้ ก็อาจเกิดจากการมีความเครียดและวิตกกังวลก็ได้ โดยความเครียด ทำให้กล้ามเนื้อต่างๆ เกิดการเกร็ง ตึงตัว ทำให้เกิดอาการปวดตามตำแหน่งต่างๆ ได้

                         หากไม่ได้มีอาการอื่นๆ ของโรคกรดไหลย้อนและกระเพาะอาหารอักเสบ ก็ไม่น่าเกิดจากโรคดังกล่าว แต่แนะนำควรดูแลแบบโรคกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อนร่วมไปด้วย ได้แก่ การเลือกทานอาหารที่ย่อยง่าย ไม่ทานอาหารที่ย่อยยาก อาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอดต่างๆ อาหารผัด ไม่ทานอาหารรสจัด ไม่ทานเผ็ด ควรเคี้ยวช้าๆ ให้ละเอียด ไม่ทานและกลืนเร็ว ไม่ทานอาหารเยอะจนอิ่มเกินไป ไม่ดื่มน้ำอัดลม อัดแก๊สต่างๆ รวมถึงชา กาแฟ โกโก้ แอลกอฮอล์ และไม่ควรทานอาหารก่อนนอนภายใน 2 ชั่วโมง 

                           นอกจากนี้ ก็ควรงดการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาต่างๆ ไปก่อน ไม่ยกของหนัก และอาจให้การประคบร้อนบริเวณที่รู้สึกจุก การนอนแช้น้ำร้อน เป็นต้น และควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ 

                            หากอาการยังไม่ดีขึ้น ไม่หายไป ก็ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางอายุแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุอื่นๆ ต่อไปค่ะ