ถามแพทย์

  • การสัมผัสสารเคมีมีผลต่อการเกิดโรคในบุตรหรือไม่

  •  Ranger Tiger
    สมาชิก
    ผมทำอยู่ที่โรงงานแห่งหนึ่ง 1.สัมผัสสารเคมีh2n4 แต่ไม่ได้สัมผัสบ่อย จะมีผลต่อเซลสืบพันธ์ไหมคับ และถ้ามีผลเวลาผ่านไปแล้วจะปกติเหมือนเดิมไหมครับ? 2.สารเคมีที่ผมสัมผัส ร่างกายจะขับสารตกค้างออกไหมครับ? 3.ลูกผมเป็นDiGeorge syndrome เกี่ยวกับงานที่ทำไหม ทางกรรมพันธ์ไม่มีใครเป็นเลย ขอบคุณครับ
    Ranger Tiger  พญ.นรมน
    แพทย์

    สวัสดีค่ะคุณ Ranger Tiger

    ในกรณีที่เป็นผู้ชาย สิ่งที่จะมผลต่อการมีบุตรก็คือน้ำอสุจิค่ะ น้ำอสุจิคือคือเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชาย เกิดขึ้นโดยกระบวนการภายในระบบสืบพันธุ์และถูกขับออกจากร่ายกายผ่านทางอวัยวะเพศโดยการหลั่งระหว่างการร่วมเพศ

    โดยปัจจัยต่างๆที่ทำให้ตัวอสุจิอ่อนแอหรือผิดปกติไปได้แก่ สิ่งแวดล้อม ความร้อน หรือสารเคมี จึงควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไปนี้

    -การดื่มแอลกอฮอล์มากจนเกินไป

    -การสูบบุหรี่จัด

    -การใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารพิษต่าง ๆ อาจสวมเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์เพื่อป้องกันตนเอง หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีโดยตรง

    -อุณหภูมิที่เพิ่มสูงจนเกินไป เช่นการใส่เสื้อผ้ารัดๆ การซาวน่าหรือแช่อ่างน้ำร้อน หรือวางคอมพิวเตอร์บนหน้าตัก เป็นต้น

    -ยาบางชนิดเช่นยากลุ่มปิดกั้นแคลเซียม ยารักษาอาการซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิกยาต้านฮอร์โมนเพศชาย

    -การรักษาโรคมะเร็ง การรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือฉายรังสี

    ดังนั้นจึงตอบว่าอาจมีผลได้ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีโดยตรงทุกชนิดค่ะ

     DiGeorge Syndrome เป็นโรคที่เป็นแต่กำเนิด คือหลังมีการปฏิสนธิแล้วตัวอ่อนพัฒนาไปผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มความผิดปกติที่ออกมาทางรูปร่างหน้าตา การสร้างแคลเซียม และอาจมีผลต่อต่อมไทมัสที่สร้างภูมิคุ้มกันหรือภาวะหัวใจผิดปกติ

    จากความเข้าใจของทางการแพทย์ในปัจจุบัน เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่มีสามารถรับมาจากพ่อแม่ที่มีโครโมโซมที่ผิดปกติอยู่แล้วได้ 50% ผู้ป่วยส่วนที่เหลืออีก 50% เป็นการเกิดขึ้นในตัวผู้ป่วยเอง การที่อสุจิไปสัมผัสสารเคมีนั้นไม่ได้มีผลต่อการเกิดโรคนี้โดยตรงค่ะ คือตัวคุณพ่อหรือคุณแม่ต้องมีความผิดปกติที่พร้อมถ่ายทอดไปให้ลูกได้อยู่แล้ว ไม่ได้เกิดจากสารเคมีมาทำให้เปลี่ยนแปลงค่ะ