ถามแพทย์

  • ปวดตรงใต้ลิ้นปี่ทะลุไปด้านหลัง มีอาการร้อนข้างในตรงที่ปวด เกิดจากสาเหตุอะไร

  • แฟนผมอยู่ไมีอาการปวดตรงใต้ลิ้นปี่ทะลุไปด้านหลังคือปวดหลังด้วย จุดที่ตรงข้ามกับลิ้นปี่ และมีอาการร้อนข้างในตรงที่ปวด แฟนบอกว่าปวดเหมือนอยากถ่ายแต่ไม่ถ่าย เกิดจากสาเหตุอะไรครับ

    สวัสดีค่ะ คุณ รู้กัลอยู่ ม่พูดเยอะ,

                       อาการเจ็บบริเวณลิ้นปี่ หายใจไม่สะดวก อาจเกิดจาก

                      1.โรคกระเพาะอาหารอักเสบ กระเพาะอาหารเป็นแผล ซึ่งจะรู้สึกปวดบริเวณท้องส่วนบน อาจเป็นบริเวณลิ้นปี่ลงไปถึงเหนือสะดือหรือปวดค่อนไปทางด้านซ้าย อาจปวดแบบจุกแน่น หรือแสบร้อน และปวดร้าวทะลุไปหลังได้ นอกจากนี้อาจมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย อิ่มเร็ว เรอบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน และอาจทำให้รู้สึกอยากถ่ายอุจจาระได้ด้วย เป็นต้น

                       2.โรคกรดไหลย้อน อาการจะคล้ายๆ กับกระเพาะอาหารอักเสบ แต่จะมีอาการแสบร้อนกลางอกร่วมด้วย หรือมีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมในคอ หรือเจ็บคอ ระคายเคืองคอ เป็นต้น

                       3. ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน จะมีอาการปวดท้องบริเวณท้องส่วนบนรุนแรง และมักปวดร้าวไปที่หลังได้ อาการปวดมักจะมากขึ้นเมื่อทานอาหาร มีท้องอืด แน่นท้อง มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีตัวเหลือง ตาเหลือง และเกิดภาวะขาดน้ำ เช่น ผิวแห้ง กระหายน้ำ หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น ซึ่งมักเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

                        นอกจากนี้อาจเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด หากมีความเสี่ยงในการเกิดโรค เช่น อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน สูบบุหรี่ โรคอ้วน มีประวิติคนในครอบครัวเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น ซึ่งจะมีอาการแน่นหน้าอกรุนแรง รู้สึกเหมือนหัวใจถูกบีบ อาจเยื้องลงมาลิ้นปี่ได้ โดยอาการจะเกิดขึ้นไม่กี่นาทีแล้วก็หายไป อาการปวดมักจะเกิดขึ้นในขณะที่ใช้กำลัง ออกแรง บางรายมีอาการใจหวิว ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว เหงื่อซึม หน้ามืด หมดสติ เป็นต้น

                      ในเบื้องต้น ควรเลือกทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย รสจืด ห้ามทานรสจัด  เคี้ยวช้าๆ ให้ละเอียด หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ไม่ทานและกลืนเร็ว ไม่ทานอาหารครั้งละปริมาณมาก ไม่ควรทานจนอิ่มเกินไป ไม่ดื่มน้ำอัดลม อัดแก๊สต่างๆ รวมถึง ชา กาแฟ โกโก้ แอลกอฮอล์ และไม่ควรทานอาหารก่อนนอนภายใน 2 ชั่วโมง

                       นอกจากนี้ อาจหายามาทานบรรเทาอาการในเบื้องต้น ได้แก่ ยาลดการหลั่งกรด เช่น โอเมพราโซล (omeprazole), แรนิทิดีน (raniditine) เป็นต้น หากอาการยังไม่ดีขึ้น รุนแรงขึ้น ก็ควรไปพบแพทย์ค่ะ