ถามแพทย์

  • คู่เสี่ยง เตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ต้องดูแลตัวเองอย่างไรดี

  • ภรรยาเป็นพาหะ ชนิด HB-E และเลือดจางด้วย ส่วนผมเป็นพาหะชนิดเบต้า (เป็นคู่เสี่ยง) เราเคยยุติการตั้งครรภ์มาแล้ว 1ครั้ง ตอนนี้อยากมีลูกแล้ว จะต้องดูแลตัวเองยังไงครับ ไม่อยากให้ภรรยายุติการตั้งครรภ์แล้ว ทุกวันนี้ ผมทานโฟลิค แฟนผมทานยาบำรุงเลือดกับโฟลิค จะช่วยได้ไหมครับ

     สวัสดีคะคุณ เสกสรรค์ เงินคำจันทร์

    ต้องเรียนอย่างนี้เลยคะ ในเรื่องของพาหะธาลัสซีเมียค่ะ ถ้าพ่อแม่เป็นพาหะลูก จะมีโอกาต่อการตั้งครรภ์ด้งนี้ค่ะ

    ปรกติ 25%

    เป็นพาหะ 50%

    เป็นโรค 25%

    ปกติจะแนะนำให้รับประทานกรดโฟลิกก่อนที่จะตั้งครรภ์ ประมาณสามเดือนค่ะ เพื่อเตรียมให้พร้อมก่อนนะค่ะ แต่อย่างไรก็ตาม 

    เมื่อฝากครรภ์สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การเจาะถุงน้ำคร่ำเพื่อตรวจดูว่าทารกในครรภ์มีปัญหาหรือไม่ค่ะ เพราะถ้าไม่มีปัญหาอะไร คือ ปรกติ หรือ เป็นแค่พาหะ ก็สามารถที่จะตั้งครรภ์ต่อได้ค่ะ แต่ถ้าเป็นโรคต้องขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคค่ะ เพราะถ้าเป็นมากเด็กอาจจะเสียชีวิตในครรภ์อยู่แล้วค่ะ 

    ให้กำลังใจนะค่ะ 

     

    ตารางการแบ่งประเภทของโรคธาลัสซีเมีย

    ลักษณะของคู่ยีนที่ผิดปกติ ชนิดของโรคธาลัสซีเมีย ระดับอาการ
    α-thalassemia 1 + α-thalassemia 1 ฮีโมโกลบินบาร์ตไฮดรอปส์ฟีทัลลิส (Hemoglobin Bart's hydrops fetalis) มีอาการรุนแรงที่สุด* (ทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์หรือหลังคลอด)
    α-thalassemia 1 + α-thalassemia 2 ฮีโมโกลบินเอช มีอาการน้อย (รุนแรงเวลามีไข้ติดเชื้อเป็นครั้งคราว)
    α-thalassemia 1 + Hemoglobin constant spring (Hb CS) ฮีโมโกลบินเอชที่มีฮีโมโกลบินคอนสแตนท์สปริง มีอาการน้อยถึงปานกลาง*
    Hemoglobin constant spring (Hb CS) + Hemoglobin constant spring (Hb CS) ฮีโมโกลบินคอนสแตนท์สปริงชนิดโฮโมไซกัส มีอาการน้อยมาก
    α-thalassemia 2 + α-thalassemia 2 แอลฟาธาลัสซีเมีย 2 ชนิดโฮโมไซกัส ไม่มีอาการ
    α-thalassemia 2 + Hemoglobin constant spring (Hb CS) แอลฟาธาลัสซีเมีย 2 ชนิดมีฮีโมโกลบินคอนสแตนท์สปริง ไม่มีอาการ
    β-thalassemia + β-thalassemia เบต้าธาลัสซีเมียชนิดโฮโมไซกัส (เบต้าธาลัสซีเมียเมเจอร์) มีอาการรุนแรงมาก*
    β-thalassemia + Hemoglobin E (Hb E) เบต้าธาลัสซีเมียชนิดมีฮีโมโกลบินอี ส่วนใหญ่จะมีอาการปานกลาง* และส่วนน้อยจะมีอาการน้อย
    Hemoglobin E (Hb E) + Hemoglobin E (Hb E) ฮีโมโกลบินอีชนิดโฮโมไซกัส ไม่มีอาการ

    หมายเหตุ : ยีนสำคัญ 3 ชนิดที่อาจทำให้เกิดโรคธาลัสซีเมียรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงที่สุด คือ α-thalassemia 1, β-thalassemia และ Hemoglobin E (Hb E) ซึ่งการตรวจหาพาหะแพทย์จะให้ความสำคัญกับกลุ่มที่มียีนเหล่านี้