ถามแพทย์ กลับไปที่ชุมชนถามตอบ ญาติเสียชีวิตจากการจมน้ำ ถ้าจะตรวจสาเหตุการเสียชีวิตจริงๆ ควรทำอย่างไร Yuwanda khunkrabee สมาชิก May 17, 2018 at 12:30 PM สวัสดีค่ะคุณหมอ อยากทราบว่าอาการของคนที่จมน้ำเสียชีวิตนี้เป็นอย่างไร เพราะจากเหตุการณ์ที่เจอมา ญาติเสียชีวิตอยู่ในน้ำประมาณ4 ชั่วโมง แต่ไม่มีน้ำออกทางท้องปากจมูกและผิวหนังเลย แต่มีเลือดออกทางไรฟัน และอุจจาระแตกด้วย แต่ตามร่างกายไม่มีบาดแผลอะไรเลย เป็นไปได้ไหมว่าเกิดอาการขาดออกซิเจนจนเสียชีวิต แล้วเอามาทิ้งในน้ำ แพทย์หญิงปิติพร เวชอัศดร สมาชิก Jul 26, 2018 at 11:19 AM สวัสดีคะคุณ Yuwanda khunkrabee ตามที่คุณได้ให้ประวัติเรื่องการพบศพญาติที่อยู่ในน้ำมาแล้วมีการแจ้งว่าเสียชีวิตมาประมาณสี่ชั่วโมงแต่ลักษณะของการทางญาติมีการติดใจสงสัย หมอขอเรียนตามนี้ค่ะ ว่าตามกฏหมายแล้ว ต้องมีการชันสูตรพลิกศพหาสาเหตุการเสียชีวิตค่ะ ซึ่งมีรายละเอียดขั้นตอนดังนี้ค่ะ การเสียชีวิตที่ผิดธรรมชาติไม่ว่าจะในกรณีใดๆ ก็ตาม ตามหลักกฏหมายบทบัญญัติพิจารณาความทางอาญา มาตรา 148-156 ซึ่งรวมถึงบุคคลฆ่าตัวตาย และถูกฆ่าตาย เรื่องการชันสูติพลิกศพ มาตรา 148 และ 150 1. ชนิดของการตาย การตายผิดธรรมชาติชนิดทั่วไป มาตรา 148 อนุ (1) ถึง (5) ดังนี้คือ ฆ่าตัวตาย ถูกผู้อื่นทำให้ตาย (เว้นแต่การตายโดยการถูกประหารชีวิต) ถูกสัตว์ทำร้ายตาย ตายโดยอุบัติเหตุ ตายโดยยังไม่ปรากฎเหตุ การตายแบบธรรมชาติชนิดพิเศษ ประเภทที่หนึ่ง ตายโดยเจ้าหน้าที่พนักงานปฏิบัติตามหน้าที่ ตายระหว่างการควบคุมของพนังงานเจ้าหน้าที่ตามหน้าที่ ผู้ที่หน้าที่ต้องชันูตรพลิกศพ ฝ่ายพนักงานสอบสวนคือ ตำรวจ แจ้งให้แพทย์ทราบ แจ้งให้ญาติผู้เสียชีวิตทราบ ฝ่ายแพทย์ ลำดับที่ หนึ่ง แพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ซึ่ได้รับวุฒิบัตรหรือ ได้รับหนังสืออนุัติจากแพทยสภา ลำดับที่สอง แพทย์ประจำโรงพยาบาลของรัฐ ลำดับที่สาม แพทย์ประจำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ลำดับที่สี่ แพทย์ประจำโรงพยาบาลเอกชน ลำดับที่ห้า แพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ขึ้นทะเบียนเป็นแพทย์อาสาสมัครตามระเบียบกระทราวงสาธารณสุข เป็นข้อสังเกตุที่ต้องเรียนให้ทราบว่า แพทย์นิติเวช เป็นแพทย์เฉพาะสาขาที่มีความชำนาญในเรื่องการตรวจชันสูตรพลิกศพ ดังนั้นจะต้องตามแพทย์นิติเวชก่อนเสมอ แต่ในกรณีที่แพทย์ติดภาระกิจไม่สามารถที่จะปฏิบัตหน้าที่ได้ทำให้มีการจัดลำดับแพทย์ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามลำดับหนึ่งถึงห้า การตายแบบผิดธรรมชาติ ชนิดพิเศษสอง หรือ ที่เรียนว่าเป็นคดีวิสามัญฆาตกรรม ซึ่งในพระราชบัญญัติชันสูตรพลิกศพ พ.ศ. 2457 ผู้มีหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ จะประกอบด้วยกัน สี่ ฝ่ายคือ ฝ่ายพนักงานสอบสวนแห่งท้องทีีที่ศพอยู่ หนาที่ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ แจ้งทายาทอย่างน้อย หนึ่งคน แจ้งแก่ พนักงานอัยการแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ และพนังงานฝ่ายปกครองตำแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอำเภอ หรือ เที่ยบเท่าขึ้นไป ทำสำนวนชันสูตรพลิกศพส่งไปยังพนักงานอัยการภายในสามสิบวัน นับตั้งแต่วันที่ได้ทราบเรื่องขยายเวลาออกไปครั้งที่สองไม่เกินสามสิบวัน ฝ่ายแพทย์ตามลำดับข้างต้น ฝ่ายพนักงานอัยการแห่งท้องถิ่นที่ที่ศพนั้นอยู่ พนักงานฝ่ายปกครองตำแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอำเภอหรือ เที่ยบเท่าขึ้นไป ตอนนี้คงต้องรอผลชันสูตรจากแพทย์นิติเวชค่ะ Share: กลับไปที่ชุมชนถามตอบ