ถามแพทย์

  • ญาติเสียชีวิตจากการจมน้ำ ถ้าจะตรวจสาเหตุการเสียชีวิตจริงๆ ควรทำอย่างไร

  •  Yuwanda khunkrabee
    สมาชิก
    สวัสดีค่ะคุณหมอ อยากทราบว่าอาการของคนที่จมน้ำเสียชีวิตนี้เป็นอย่างไร เพราะจากเหตุการณ์ที่เจอมา ญาติเสียชีวิตอยู่ในน้ำประมาณ4 ชั่วโมง แต่ไม่มีน้ำออกทางท้องปากจมูกและผิวหนังเลย แต่มีเลือดออกทางไรฟัน และอุจจาระแตกด้วย แต่ตามร่างกายไม่มีบาดแผลอะไรเลย เป็นไปได้ไหมว่าเกิดอาการขาดออกซิเจนจนเสียชีวิต แล้วเอามาทิ้งในน้ำ

     สวัสดีคะคุณ Yuwanda khunkrabee

    ตามที่คุณได้ให้ประวัติเรื่องการพบศพญาติที่อยู่ในน้ำมาแล้วมีการแจ้งว่าเสียชีวิตมาประมาณสี่ชั่วโมงแต่ลักษณะของการทางญาติมีการติดใจสงสัย หมอขอเรียนตามนี้ค่ะ ว่าตามกฏหมายแล้ว ต้องมีการชันสูตรพลิกศพหาสาเหตุการเสียชีวิตค่ะ ซึ่งมีรายละเอียดขั้นตอนดังนี้ค่ะ 

    การเสียชีวิตที่ผิดธรรมชาติไม่ว่าจะในกรณีใดๆ ก็ตาม ตามหลักกฏหมายบทบัญญัติพิจารณาความทางอาญา มาตรา 148-156 ซึ่งรวมถึงบุคคลฆ่าตัวตาย และถูกฆ่าตาย เรื่องการชันสูติพลิกศพ มาตรา 148 และ 150 

    1. ชนิดของการตาย

    • การตายผิดธรรมชาติชนิดทั่วไป มาตรา 148 อนุ (1) ถึง (5) ดังนี้คือ
    1. ฆ่าตัวตาย
    2. ถูกผู้อื่นทำให้ตาย (เว้นแต่การตายโดยการถูกประหารชีวิต)
    3. ถูกสัตว์ทำร้ายตาย
    4. ตายโดยอุบัติเหตุ
    5. ตายโดยยังไม่ปรากฎเหตุ
    • การตายแบบธรรมชาติชนิดพิเศษ ประเภทที่หนึ่ง
    1. ตายโดยเจ้าหน้าที่พนักงานปฏิบัติตามหน้าที่
    2. ตายระหว่างการควบคุมของพนังงานเจ้าหน้าที่ตามหน้าที่

    ผู้ที่หน้าที่ต้องชันูตรพลิกศพ

    1. ฝ่ายพนักงานสอบสวนคือ ตำรวจ แจ้งให้แพทย์ทราบ แจ้งให้ญาติผู้เสียชีวิตทราบ
    2. ฝ่ายแพทย์

    ลำดับที่ หนึ่ง แพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ซึ่ได้รับวุฒิบัตรหรือ ได้รับหนังสืออนุัติจากแพทยสภา

    ลำดับที่สอง แพทย์ประจำโรงพยาบาลของรัฐ

    ลำดับที่สาม แพทย์ประจำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

    ลำดับที่สี่ แพทย์ประจำโรงพยาบาลเอกชน

    ลำดับที่ห้า แพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ขึ้นทะเบียนเป็นแพทย์อาสาสมัครตามระเบียบกระทราวงสาธารณสุข

    เป็นข้อสังเกตุที่ต้องเรียนให้ทราบว่า แพทย์นิติเวช เป็นแพทย์เฉพาะสาขาที่มีความชำนาญในเรื่องการตรวจชันสูตรพลิกศพ ดังนั้นจะต้องตามแพทย์นิติเวชก่อนเสมอ

    แต่ในกรณีที่แพทย์ติดภาระกิจไม่สามารถที่จะปฏิบัตหน้าที่ได้ทำให้มีการจัดลำดับแพทย์ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามลำดับหนึ่งถึงห้า

     

    • การตายแบบผิดธรรมชาติ ชนิดพิเศษสอง

    หรือ ที่เรียนว่าเป็นคดีวิสามัญฆาตกรรม ซึ่งในพระราชบัญญัติชันสูตรพลิกศพ พ.ศ. 2457 ผู้มีหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ จะประกอบด้วยกัน สี่ ฝ่ายคือ

    1. ฝ่ายพนักงานสอบสวนแห่งท้องทีีที่ศพอยู่ หนาที่ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ แจ้งทายาทอย่างน้อย หนึ่งคน แจ้งแก่ พนักงานอัยการแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ และพนังงานฝ่ายปกครองตำแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอำเภอ หรือ เที่ยบเท่าขึ้นไป ทำสำนวนชันสูตรพลิกศพส่งไปยังพนักงานอัยการภายในสามสิบวัน นับตั้งแต่วันที่ได้ทราบเรื่องขยายเวลาออกไปครั้งที่สองไม่เกินสามสิบวัน
    2. ฝ่ายแพทย์ตามลำดับข้างต้น
    3. ฝ่ายพนักงานอัยการแห่งท้องถิ่นที่ที่ศพนั้นอยู่
    4. พนักงานฝ่ายปกครองตำแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอำเภอหรือ เที่ยบเท่าขึ้นไป

    ตอนนี้คงต้องรอผลชันสูตรจากแพทย์นิติเวชค่ะ