ถามแพทย์

  • แน่นท้องเหนือสะดือถึงลิ้นปี่ เป็นตลอดเวลา เกิดได้จากอะไรบ้างคะ

  •  sanwitch
    สมาชิก
    มีอาการแน่นท้องช่วงบนเหนือสะดือ ถึงลิ้นปี่ตลอดเวลา ไม่ทราบว่าเกิดได้จากอะไรบ้างคะ และมีบ้างที่บางครั้งจะปวดจี๊ดๆซ้ายสุดบ้าง ขวาสุดบ้าง ช่วงล่างของท้อง
    sanwitch  sanwitch
    สมาชิก
    และจะมีร้อนวูบๆเรื่อยๆ เหมือนมีน้ำอะไรร้อนๆ
    sanwitch  PeiJing Yang
    สมาชิก

     

    ทานอาหารตรงเวลาหรือไม่?ทานรสจัดหรือไม่?

    อาจจะเกิดจากกรดไหลย้อนนะครับ หากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย

    -ปวดแสบปวดร้อนในหน้าอก เนื่องจากกรดไปทำให้หลอดอาหารอักเสบ

    -มีอาการจุกแน่นบริเวณหน้าอก เหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ หายใจไม่ออกเวลานอน

    -กลืนอาหารลำบาก ถ้าเป็นมากจะเจ็บคอมากจนอาจจะกลืนอาหารแทบจะไม่ได้

    -คลื่นไส้

    -มีอาการเรอเปรี้ยว หรือรู้สึกถึงรสขมของน้ำดี รสเปรี้ยวของกรดในปากหรือลำคอ

    สวัสดีค่ะ คุณ sanwitch,

                        อาการแน่นท้องบริเวณเหนือสะดือ และลิ้นปี่ อาจเกิดได้จาก

                      - โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะรู้สึกปวดบริเวณท้องส่วนบน อาจเป็นบริเวณลิ้นปี่ลงไปถึงเหนือสะดือหรือปวดค่อนไปทางด้านซ้าย อาจปวดแบบจุกแน่น หรือแสบร้อน นอกจากนี้อาจมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย อิ่มเร็ว เรอบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น

                   - กรดไหลย้อน อาการจะคล้ายๆ กับกระเพาะอาหารอักเสบ คือปวดแสบร้อนหรือจุกบริเวณลิ้นปี่และหน้าอก อาหารไม่ย่อย เรอบ่อย มีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมในคอ หรือเจ็บคอ ระคายเคืองคอตลอดเวลา คลื่นไส้หลังรับประทานอาหาร เป็นต้น

                   - ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน จะมีอาการปวดท้องที่รุนแรง และมักปวดร้าวไปที่หลัง อาการปวดมักจะมากขึ้นเมื่อทานอาหาร ท้องอืด แน่นท้อง มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีตัวเหลือง ตาเหลือง เกิดภาวะขาดน้ำ เช่น ผิวแห้ง กระหายน้ำ หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น ซึ่งมักเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

                   - เป็นอาการท้องอืด ที่อาจเกิดจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือกรดไหลย้อนดังกล่าว หรือเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การทานอาหารปริมาณมาก ทานอาหารที่ย่อยยาก ทานอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สหรือเครื่องดื่มที่มีแก๊ส เช่น น้ำอัดลม ถั่ว เมล็ดธัญพืชต่างๆ  การกลืนอากาศเข้าไปปริมาณมาก จากการอ้าปาก พูดคุย หัวเราะ หรือหายใจทางปาก การกินหรือดื่มเร็วเกินไป การใช้หลอดดูดเครื่องดื่ม การเคี้ยวหมากฝรั่ง รวมถึงการมีท้องผูก เป็นต้น

                    ในเบื้องต้น แนะนำให้ดูแลตนเองดังนี้ ได้แก่ การทานอาหารที่ย่อยง่าย โดยอาหารประเภทแป้ง จะย่อยง่ายกว่าเนื้อสัตว์ และเนื้อสัตว์ประเภทปลา กุ้ง ไก่ จะย่อยง่ายกว่าเนื้อวัวหรือเนื้อหมู อาหารที่ต้มจะย่อยกว่าอาหารที่ทอด หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ควรทานแต่ครั้งละพอประมาณ ไม่ควรทานจนอิ่มเกินไป โดยอาจแบ่งอาหารออกเป็นหลายมื้อขึ้น เช่น 4-5 มื้อ ทานให้ตรงเวลา เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน ทานช้าๆ ไม่เร่งรีบ

                   ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน รวมถึงช็อกโกแลต และน้ำอัดลมอัดแก๊สต่างๆ ห้ามทานยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ (NSAID) เช่น ยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อต่างๆ ยาแก้ปวดประจำเดือน เป็นต้น รวมถึงยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ 

                   หากปฏิบัติตัวในขั้นต้นแล้ว อาการแน่นท้องยังไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อรักษาค่ะ