ถามแพทย์

  • หลังจากเลิกกับแฟนได้ 2 เดือนแล้ว เริ่มนอนได้ยากขึ้น ทานอาหารได้น้อยลง ไม่อยากเข้าสังคม หดหู่ เป็นอาการหดหู่ปกติไหม

  •  Saitharn_
    สมาชิก
    อาการที่เราต้องเจอเป็นภายหลังจากการเลิกรากับคนรักไป จนถึงตอนนี้ก็เกือบเข้าเดือนที่ 2 แล้ว อาการที่พบเบื้องต้นก็คือ เริ่มนอนได้ยากขึ้นหรือบางทีก็นอนในระหว่างวันมากขึ้นเพื่อให้เวลาผ่านไป ทานอาหารได้น้อยลงมาก เริ่มรู้สึกว่าตัวเองมีพลังงานลบในตัวเองมากขึ้น ไม่อยากเข้าสังคม เบื่อที่จะต้องรู้สึกและตอบโต้กับใคร ระหว่างวันจะมีความรู้สึกเศร้ารู้สึกวิตกกังวลขึ้นมาฉับพลันและมันยากที่จะหายไป ทุกเช้าตื่นมาด้วยความคิดที่ว่า ไม่อยากตื่นขึ้นมาแล้ว เพราะทุกๆครั้งที่ตื่นขึ้นมาเราจะรู้สึกแย่ หดหู่ กังวล เหนื่อย โดยอัตโนมัติทั้งที่ไม่ได้คิดอะไรอยู่ ในตอนแรกเราคิดว่ามันคืออาการของคนอกหักธรรมดา แต่พอลองสังเกตดูดีๆเราก็เกิดคำถามว่ามันใช่ความธรรมดาจริงๆหรอ ทำไมเวลาเราเศร้ามันถึงเหมือนกับว่าเรากลายเป็นอีกคนที่ไม่สามารถควบคุมอะไรได้ ทำไมทั้งที่เราชอบทำในสิ่งๆนี้แต่กับตอนนี้มันกลายเป็นสิ่งที่เรารู้สึกว่ามันน่าเบื่อและเราเหนื่อยกับมัน ไม่ใช่ว่าเราไม่ลองปรับความคิดหรือไม่ลองทำสิ่งใหม่ๆนะ คือเราทำหมดทุกอย่างแล้วแต่สุดท้ายมันก็วนลูปมาอยูาตรงจุดเดิม เราพยายามสังเกตตัวเองอยู่ตลอดเวลาและเราหวังว่าทุกอย่างมันจะจางแล้วดีขึ้นในทุกๆวัน แต่เอาเข้าจริงๆในตอนนี้เรากลับรู้สึกเหนื่อยกับโลกใบนี้แทน ไม่เห็นว่ามันจะดีขึ้นตามเวลาที่มันดำเนินต่อไปเรื่อยๆเลย ควรทำยังไงให้เรามีพลังบวกมากกว่านี้ ควรปรับความคิดไปในทางไหนถึงจะช่วยให้เราดีขึ้นจริงๆ
    Saitharn_  พญ.นรมน
    สมาชิก

     สวัสดีค่ะคุณ Saitharn_

    อาการผิดหวังหรือต้องพรากจากคนที่รักก็เป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า โรคซึมเศร้า หรือความผิดปกติทางอารมณ์ได้

    ภาวะซึมเศร้า หรือที่รู้จักกันว่าโรคซึมเศร้า เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่ผู้ป่วยอาจรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือรู้สึกว่าตนด้อยค่า แม้ความรู้สึกและอารมณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้กับทุกคนเป็นครั้งคราว แต่อาการของภาวะซึมเศร้านั้นมีความรุนแรงและยาวนานกว่ามากจนถึงขั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในด้านต่าง ๆ แต่หากเป็นยาวนานกว่า 2 อาทิตย์ ร่วมกับมีพฤติกรรมการกินการนอนเปลีย่นแปลง เสียการเรียนการทำงาน ร่วมกับมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย อาจจัดเป็นโรคซึมเศร้า ที่ควรไปพบจิตแพทย์และรับการรักษาระยะยาว

    เบื้องต้นแนะนำรักษาสภาวะอารมณ์ให้แจ่มใสด้วยการทำกิจกรรมเพื่อความสนุกสนานและผ่อนคลาย พูดคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัว อาจเล่าหรือระบายปัญหาให้ฟังซึ่งจะช่วยทำให้สบายใจได้ระดับหนึ่งค่ะ