ถามแพทย์

  • มีอาการย้ำคิดย้ำทำ คิดวนไปมา ช่วงหลังๆเป็นมากขึ้น กระทบกับชีวิตประจำวัน ควรทำอย่างไร

  •  korakoth
    สมาชิก

    คือผมไม่แน่ใจว่าโรคที่ผมเป็นมันคืออะไรกันแน่ อาการหลักๆ

    1.ก็มีพยายามทำบางอย่างตามจำนวนที่ตนเองพอใจ
    2.บางครั้งเมื่อพบอะไรไม่พึงประสงค์ก็จะกลายเป็นความคิดวนซ้ำที่ต้องพยายามปฎิเสธในความคิดไปเรื่อยๆจนหลายครั้งก็แสดงออกเป็นกริยาที่แปลกๆ เช่นในอาหารปกติไม่มีอะไรแต่เมื่อเห็นหรือคิดอะไรแย่ๆจะทำให้คิดว่าอาหารปนเปื้อนและต้องปฎิเสธความคิดจนกว่าจะลืมถึงจะกินต่อได้ หรือเห็นอะไรแสลงเช่นอุจาระก็มีความคิดขึ้นเองว่าอาจจะเข้ามาอยู่ในปากหรือเปื้อนตามตัวเราได้จนต้องปฎิเสธความคิดย้ำๆอีก

    3.มีความคิดแปลกๆที่เมื่อสัมพัสกับคนอื่นที่ไม่ชอบก็เหมือนจะซึมซับเข้าตัวเองได้ จึงต้องล้างหรือเช็ดมือตามข้อ1. อีก

    4.เสียสมาธิง่าย บางครั้งมีความคิดบางส่วนที่คิดเองโดยเราไม่ได้ต้องการ

    ปัจจุบันได้รับการรักษาโดยกินยาที่หมอวินิจฉัยว่าเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ แต่รักษามาหลายปีแล้วไม่ดีขึ้นเท่าไหร่แต่พอควบคุมอาการได้ 

    แต่เหมือนว่าบางครั้งยิ่งควบคุมมากๆภายหลังจะยิ่งมีอาการปฎิเสธความคิดตัวเองอย่างผิดปกติมากกว่าเดิม ซึ่งผมไม่มั่นใจว่าผมเป็นแค่โรคย้ำคิดย้ำทำอย่างเดียวรึเปล่า เนื่องจากเมื่อตอนอายุ12-18ปี เคยคลุกคลี่อยู่กับสุนัขหลายตัวและเคยโดนเห็บกัดจึงไม่มั่นใจว่ามันจะมีส่วนทำให้ระบบประสาทเสียหายรึเปล่าน่ะครับ

    ขอขอบคุณสำหรับคำตอบนะครับ TwT

    korakoth  พญ.นรมน
    สมาชิก

    สวัสดีค่ะคุณ korakoth

    จากอาการที่เล่ามาทั้งหมด เข้าได้กับโรคย้ำคิดย้ำทำมากที่สุด การวินิจฉัยอื่นๆที่เป็นไปได้เช่น ความผิดปกติทางด้านอารมณ์ หรือด้วยอุปนิสัยที่เป็นคนรักความสะอาดอยู่แล้ว ส่วนเรื่องพิษสุนัขบ้านั้น อาการไม่เหมือนค่ะ โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ติดต่อมาจากการสัมผัสสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่นหมา แมวที่ติดเชื้อ อาการแสดงมักเกิดหลังได้รับเชื้อ 2-8 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้นได้ อาการคือมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว คลุ้มคลั่ง กลัวน้ำ กลืนน้ำลายไม่ได้ และสมองอักเสบจนถึงแก่ชีวิต 

    OCD (Obsessive Compulsive Disorder) หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นอาการทางจิตที่ผู้ป่วยจะมีรูปแบบความคิดหรือความกลัวที่ไม่สมเหตุสมผลจนนำไปสู่การทำพฤติกรรมบางอย่างซ้ำไปซ้ำมา เช่น คิดว่ามือสกปรกตลอดเวลาจึงต้องล้างมือบ่อยๆ คิดว่าลืมปิดประตูบ้านหรือเตาแก๊สจึงต้องคอยตรวจตราจนไปทำงานสาย เป็นต้น 

    การรักษามีทั้งการปรับพฤติกรรม การทำจิตบำบัด การใช้ยาเพื่อช่วยควบคุมอาการ เช่น โคลมิพรามีน เซอร์ทราลีน พาร็อกซีทีน ฟลูวอกซามีน หรือฟลูออกซิทีน เป็นต้น หากตอนนี้คิดว่ายังมีอาการอยู่เช่นยังควบคุมพฤติกรรมหรือความคิดตัวเองไม่ได้ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบในครั้งต่อไป แพทย์อาจปรับยาหรือมีการทำจิตบำบัดเป็นกลุ่มเพิ่ม  การบำบัดหรือการทำจิตบำบัดต้องใช้ทั้งเวลาในการรักษาและความพยายามของผู้ป่วย อีกทั้งอาจต้องเข้ารับการบำบัดร่วมกับสมาชิกในครอบครัวหรือคนอื่นๆ ด้วย โดยการรักษาด้วยวิธีนี้อาจได้ผลดีแม้ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยารักษาโรคทางจิตเวชค่ะ

    อ่านเพิ่มเติม

    https://www.pobpad.com/ocd-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%B3