ถามแพทย์

  • มีอาการใจสั่นเป็นช่วงๆ กลัว และกังวลอาการนี้จนไม่กล้าออกจากบ้าน

  •  Suvajani
    สมาชิก
    ดิฉันอายุ28ปี หนัก 94 กก.สูง 175 ซม. เป็นความดันสูง และค่าไทรอยด์ทำงานต่ำค่ะ ตรวจเจอครั้งแรกอยุ่ที่ 150/90 หมอให้ยามากิน กินไปสักพักความดันลดลงมาเหลือ 130/80-85 แต่มีอาการไม่ปกติคือ บางวันหัวใจเต้นเร็วมาก ทั้งๆที่ไม่ได้ทำกิจกรรมอะไร แล้วยังมีอาการเวียนหัว เหมือนจะเป็นลม เริ่มกังวลว่าจะวูบรึเปล่า ยิ่งคิดยิ่งกังวลก้ยิ่งเป็นหนัก พอไปหาหมอ อาการกลับไม่มี หมอตรวจคลื่นหัวใจก้ไม่มีผิดปกติ บางทีเป็นสักพักใหญ่ๆก็หายไปเอง พอสังเกตุตัวเองดู จะชอบเป็นเวลาคิดมาก วิตกกังวลในเรื่องบางเรื่องค่ะ ทุกวันนี้ไม่ค่อยกล้าออกไปไหนค่ะ กลัวจะเป็นแบบเดิมอีก แบบนี้ดิฉันต้องทำอย่างไรคะ คือใช้ชีวิตยากมากค่ะ อาการแบบนี้คืออาการของแพนิครึเปล่าคะ แล้วถ้าใช่จะรักษาได้ไหมคะ จะมีทางหายไหมคะ
    สวัสดีค่ะ คุณ Suvajani @อาการใจสั่นหรือใจเต้นเร็ว สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ การมีไข้ การขาดน้ำ ภาวะซีด ภาวะทางอารมณ์ที่ไม่ปกติ การดื่มชากาแฟแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน โรคหัวใจบางชนิด. โรคไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น @@อาการเวียนหัว มึนศีรษะ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ -ความผิดปกติของหูชั้นใน ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะ เช่น โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (BPPV) โรคประสาทหูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis) โรคนำ้ในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease) เป็นต้น - ความดันโลหิตต่ำ อาจเกิดจากการเปลี่ยนท่าทางรวดเร็ว การสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย เช่น ท้องเสีย อาเจียนมาก เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ ภาวะการติดเชื้อต่างๆ -โรคไมเกรน : บางคนจะมีอาการปวดศีรษะร่วมกับอาการเวียนหัวได้ -โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการบาดเจ็บ, เนื้องอก, การติดเชื้อ, เส้นเลือดในสมองผิดปกติ เป็นต้น -ภาวะอื่นๆ เช่น เครียด ยาบางชนิด โรคโลหิตจาง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นต้น @การดูแลตนเองในเบื้องต้น ขณะที่มีอาการเวียนหัว แนะนำให้เคลื่อนไหวร่างกายช้าลง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ @ส่วนอาการใจสั่นเป็นพักๆ แนะนำให้พักผ่อนมากขึ้น ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการดื่มชากาแฟแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน **กรณีของคุณ Suvajani ยังไม่สามารถระบุสาเหตุให้ชัดเจนนะคะ ให้ลองปฏิบัติตามที่แนะนำในข้างต้นดูก่อนนะคะ หากอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปนะคะ