ถามแพทย์

  • ผ่าตัดสมองเนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตก ตอนนี้หมอให้กลับบ้านได้ แต่ยังมีไข้ เสมหะเยอะและใช้ออกซิเจนช่วย ต้องดูแลอย่างไร

  •  Mam Aom Love
    สมาชิก
    แม่ผ่าตัดสมองเนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตกมีอาการชักเกร็ง นำส่ง รพ. หมอแจ้งต้องผ่าสมองด่วน เพราะเลือดออกไหลไปทั่วสมองแล้ว(แม่ทานยาสลายลิ่มเลือดเป็นประจำเนื่องจากเป็นโรคเส้นเลือดตีบในสมอง และมีความดันสูงกับเบาหวานเป็นโรคประจำตัวอีก) พอผ่าออกมาแล้วมีอาการสมองบวม ความดันสูง หายใจเองไม่ได้ ขยับตัวไม่ได้ ตอนนี้ต้องเจาะคอ แต่ย้ายออกจากห้อง ซีซียูแล้ว มาอยู่ห้องรวม มีอาการไข้และมีเสมหะเยอะค่ะ ไข้สูง ขึ้นๆลงๆ เป็นเพราะอะไรค่ะ ต้องปฎิบัติอย่างไรบ้าง ใช่อาการติดเชื้อหรือเปล่า หมอก็อยากให้ออกจาก รพ.เร็วๆ ทั้งๆที่อาการไข้และมีเสมหะยังไม่ดีขึ้น และยังหายใจเองไม่ได้เป็นปกติ ต้องใช้ออกซิเจนช่วย มีอาการโปรตีนในเลือดต่ำ มือบวมอีกค่ะ ต้องรบกวนขอคำแนะนำด้วยนะคะ เพราะหมอก็รรบอยากให้ออก รพ. อุปกรณอะไรที่บ้านก็ยังไม่พร้อมเลยค่ะ กลุ้มใจมากๆ

    สวัสดีคะคุณ Mam Aom Love

    เรียนอย่างนี้ก่อนนะค่ะ โดยทั่วไป ในคนไข้ที่มีเรื่องของภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน และมีเรื่องของความผิดปรกติของเส้นเลือดในสมอง ที่เป็นเส้นเลือดในสมองตีบ และมีภาวะเส้นเลือดในสมองแตก ต้องได้รับการผ่าตัดไม่สามารถที่จะขยับตัวไปมาได้ หรือ ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยมากๆ และตอนนี้ต้องมีเรื่องการเจาะคอ หรือ อาจจะต้องได้รับการให้อาหารทางสายยาง จะต้องคำนึงถึงภาวะดังต่อไปนี้ค่ะ

    • การติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อทางเดินหายใจ การติดเชื้อในระบบปัสสาวะ การติดเชื้อเรื่องของแผลกดทับ 
    • ปัญหาเรื่องการขยับของร่างกาย และข้อ ซึ่งอาจจะทำนำซึ่งการติดของข้อ 
    • ปัญหาเรื่องของการใช้ยา หรือ การจัดยาให้ถูกต้อง การควบคุมโรค
    • ปัญหาเรื่องของการดูแลทั่วไป เช่น การอาบน้ำ เช็ดตัว การเคลื่อนย้าย
    • ปัญหาภาวะแทรกซ้อนจากโรค

    ดังนั้นมาดูกันค่ะ ว่าเราจะเตรียมตัวในการรับคนไข้เหล่านี้กลับสู่ครอบครัวได้อย่างไรค่ะ

    1. การเตรียมในเรื่องของเตียงผู้ป่วยอาจจะต้องเป็นเตียงที่ใช้ใน โรงพยาบาล และมีเรื่องของเตียงลม เพื่อป้องกันแผลกดทับ เตียงสามารถไขหัวสูงได้เพื่อป้องกันการสำลัก และสามารถดูดเสมหะได้ง่าย 
    2. การเตรียมอุปกรณ์ในการดูดเสมหะ ถังออกซิเจน และอุปกรณ์ช่วยในเรื่องการทำให้ลดความข้นของเสมหะ อาจจะเป็นน้ำเกลือ กรณีที่คนไข้เจาะคอแล้ว
    3. การเตรียมอุปกรณ์ในการทำอาหารปั่น การใส่สายให้อาหาร ในกรณีที่คนไข้กินเองไม่ได้หรือกลืนไม่ได้
    4. การใส่สายสวมปัสสาวะและการดูแลไม่ให้มีเรื่องของการบาดเจ็บและการติดเชื้อ ถ้ากรณีที่คนไข้ไม่สามารถที่จะปัสสาวะเองได้
    5. การเตรียมความรู้ให้กับผู้ดูแล คือ เรื่องการดูแลเกี่ยวกับการจัดยา การพลิกตัว การให้อาหาร และดูดเสมหะ การช่วยในเรื่องสุขอนามัย และอาจจะช่วยเรื่องของการทำกายภาพบำบัดเรื่องการขยับข้อ เพื่อลดการติดของข้อ
    6. การปรึกษาเกี่ยวกับการฝึกทำกายภาพบำบัด 
    7. การเตรียมญาติคนไข้ในเรื่องความเข้าใจของโรคและกลไก และการเปลี่ยนแปลงของโรค
    8. เรื่องการฝากเลี้ยงดูในสถานพยาบาลอาจจะเป็นอีกทางเลือดหนึ่ง ในกรณีที่คนไข้ยังต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดอีกซักระยะหนึ่งค่ะ