ถามแพทย์

  • ปวดท้องซ้ายก่อนไปปวดด้านขวา มักเป็นตอนกลางคืน เป็นอาการอะไร

  • สวัสดีครับ ปัจจุบันอายุ 30 แล้ว ในช่วงตอนเรียนกินข้าวสามมื้อ ตามเวลาและนอนปกติ แต่พอเข้ามัธยม พ่อเสียชีวิตเลยต้องช่วยแม่ขายของ ทำให้เวลาชีวิตในการใช้ชีวิตค่อนข้างพัง นอนน้อยลง เหลือ 6ชั่วโมงและต้องกินแค่ 2 มื้อ จนเข้ามหาลัย และชีวิตในมหาลัยก็ใช้ชีวิตไม่ต่างจากตอนนี้ คือ 6ชั่วโมง วันไหนมีโปรเจ็คก็จะนอน 4 ชั่วโมง จนปัจจุบันเรียนจบแล้วเข้าทำงาน จนได้ใช้ชีวิตตามปกติ กินข้าวสามมื้อ นอน 6-8 ชั่วโมงตามเดิม แต่ออกกำลังกายน้อยลงเพราะตอนนี้ นั้งทำงานแทบจะตลอดเวลา

    อาการปวดเริ่มเมื่อสองปีก่อน รู้สึกไม่สบายท้อง ระบบขับถ่ายยังปกติดี คือ ถ่าย วันล่ะ 1-3 ครั้ง คือทานข้าวแล้ว 1-2 ชั่วโมงถ่ายเลย 
    เคยไปหาหมอ แต่ไม่ได้ตรวจสุขภาพ หมอสักประวัติแล้ว บอกว่าอาจจะเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือ กระเพาะอาหารอักเสบ ฯลฯ ซึ่ง มีกรดไหลย้อนด้วยและอาการอื่นๆแทรกซ้อน 
    จึงตัดสินใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอีกครั้งนึง
    ปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้ 1-2 เดือนแล้ว ไม่มีกรดไหลย้อน แต่อาการเจ็บท้องด้านซ้าย ไปขวา จะทุเลาลงแต่ไม่ได้หายขาด(เจ็บน้อยลงอย่างมาก) แต่พอตกกลางคืนจะเริ่มเจ็บมากขึ้น แต่ถ้าเทียบกับเมื่อก่อนเจ็บมากกว่า อาการส่วนมากจะหายเมื่อรับประทานอะไรสักอย่าง ไป เช่น ขนมเล็กๆน้อยๆ (ไม่อยากกินมากเพราะหมอที่คลีนิก บอกว่าจะยิ่งกระตุ้นน้ำย่อย) 

    เลิกน้ำอัดลม มาได้ปีนึงแล้วครับ และเลิกกินขนมตอนกลางคืนได้ 5-6 เดือนแล้ว 
    ไม่ดื่มชา กาแฟ เหล้า บุหรี่ แอกกอลฮอล ไม่ทานของดอง ฯลฯ ตั้งแต่เด็กครับไม่เคยแตะเลย

    ตอนนี้มีอาการ ท้องเสียบ่อยมากถ้าผักผลไม้ แต่ถ้าไม่กินผักก็จะถ่ายไม่ออก ตอนนี้รู้สึกกังวลมากๆครับ ว่าจะต้องผ่าตัดอะไรหรือเปล่า เพราะ เอาตรงๆตอนนี้ ปัจจุบันหาเช้ากินค่ำมากครับ 

    ทรงธรรม ยศพรพงชง  พญ.นรมน
    แพทย์

    สวัสดีค่ะคุณ ทรงธรรม ยศพรพงชง

    อาการปวดท้องเป็นๆหายๆ มาเรื้อรัง อาจมีสาเหตุจาก

    -ปวดจากกระเพาะอาหารอักเสบหรือมีแผลในกระเพาะ มักสัมพันธ์กับมื้ออาหาร โดยอาจเป็นๆหายๆได้ในระยะยาว

    -กล้ามเนื้อหน้าท้องอักเสบ มีจุดกดเจ็บชัดเจน สัมพันธ์กับท่าทาง

    -ลำไส้อักเสบ ทำให้ปวดท้องบิด ถ่ายเหลว

    -มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ จะมีอาการปัสสาวะแสบขัดและปนเลือด

    โดยโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าโรคกระเพาะ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบหรือเกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะอาหาร สามารถเกิดขึ้นได้แบบเฉียบพลันในระยะเวลารวดเร็ว เป็นในระยะสั้น ๆ และหายภายใน 1-2 สัปดาห์  หรือมีอาการบ่อยครั้งเป็นระยะเวลานานจนเกิดการอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดแผลในกระเพาะ

    การรักษาเน้นที่การปรับพฤติกรรมเช่น ควรรับประทานอาหารอ่อนๆสุกสะอาดและรับประทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่นอนหลังรับประทานอาหารทันที  และหลีกเลี่ยงอาหารที่รับประทานแล้วทำให้เป็นมากขึ้น ในบางคนอาจเป็นพวกอาหารเผ็ด อาหารรสจัด หรือน้ำอัดลม จึงควรหลีกเลี่ยง ร่วมกับการรับประทานยาลดกรดในกระเพาะภายใต้การดูแลของแพทย์

    อาการอันตรายที่ควรรีบไปพบแพทย์เช่น มีอาการแสบท้องมาก เรอบ่อย คลื่นไส้มาก กินได้น้อย ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายดำ อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลด หรือหากปวดมาก ปวดมาเรื้อรัง อาจกลับไปพบแพทย์เพื่อตรวจซ้ำอีกครั้ง